กลับมาอีกแล้ว เกี่ยวกับ ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ สำหรับมือใหม่ หรือใครที่กำลังมองหาข้อมูล ไว้เป็นความรู้พื้นฐาน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เราก็สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง หรือบางทีเราสามารถซ่อมบำรุง รักษาได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเข้าอู่ให้เสียเวลา
จาก EP.1 , EP. 2 และ EP.3 ได้ยกตัวอย่าง ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ไป EP ละ 7 ชิ้นส่วน รวมแล้ว 21 ชิ้นส่วนนั้นเองค่ะ วันนี้ STM ได้นำข้อมูลมาเพิ่มเติม พร้อมอัดข้อมูลให้แน่น ๆ สำหรับใครที่ตั้งหน้าตั้งตา รออ่านไว้ต่อยอดหรือ เรียนรู้ไว้เป็นพื้นฐานในตัว จะได้รู้ว่าเสียจากเหตุใด เกิดได้อย่างไร ควรทำอย่างใด สำหรับใครที่ยังไม่อ่าน EP.1 , EP. 2 และ EP. 3 อย่าลืมกดลิงค์ย้อนกลับไปอ่านกันนะคะ ทาง STM ได้ทิ้งลิงค์ไว้ด้านล่างนะคะ
ก่อนอื่นมาทบทวนว่า ระบบพื้นฐานของรถยนต์ แบ่งเป็นระบบใหญ่ แบ่งเป็นอะไร ตามไปดูกันค่ะ
ระบบพื้นฐานของรถยนต์ 🚕
ระบบพื้นฐานของรถยนต์ แบ่งเป็นระบบใหญ่ ๆ ดังนี้ 🚩
- เครื่องยนต์ ( enging)
- ระบบส่งกำลัง ( transmission )
- ระบบขับเคลื่อน ( driveline and axles )
- ระบบบังคับเลี้ยว ระบบกันสะเทือน ล้อ และยาง ( sreering , suspen – sion , wheels , and trires )
- ระบบเบรก ( draking ststem )
- ระบบไฟฟ้า ( chassis and body electrical systems )
- ตัวถัง โครงฐาน และกันชน ( body , fram , and bumpers )
- ระบบทำความร้อน ระบายอากาศ และปรับอากาศ ( heating – ventilating – air conditoning )
ระบบต่าง ๆ เหล่านี้ ยังแยกเป็นระบบย่อย ได้อีกมากมาย จนถึงรายละเอียดชิ้นส่วน ๆ ของแต่ละชิ้น ซึ่งมีน้อยคนมากที่จะรู้ และเข้าใจได้ทันทีที่กล่าวถึง นอกเสียจากได้ลงมือซ่อม และบำรุงรักษาด้วยตนเอง ความสัมพันธ์ และการทำงานของระบบพื้นฐาน ดังกล่าว

สำหรับใครที่ยังไม่อ่านบทความ EP. 1 , EP. 2 และ EP. 3 อย่าลืมกดลิงค์เข้าไปอ่านกันนะคะ ต่อไปน้อง STM จะขึ้นข้อต่อจากเดิมที่แล้ว เริ่มกันเลยค่ะ 👇🤳
ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ EP. 1💨
ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ EP. 2 💨
ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ EP. 3 💨
2️⃣2️⃣ ก้านสูบ ( connecting rod ) ♨️
เป็นชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ ซึ่งต่อระหว่างลูกสูบกับเพลาข้อเหวี่ยง ( ดูรูปที่ 1.8 ) ก้านสูบของเครื่องยนต์มีจำนวนเท่ากับจำนวนหัวเทียน ( 1 )
2️⃣3️⃣ น้ำหล่อเย็น ( coolant ) ❄️
เป็นของเหลวที่เติมลงในหม้อ เพื่อใช้ระบายความร้อนของเครื่องยนต์ อาจเป็นน้ำอย่างเดียว หรือผสมของน้ำกับแอนตี้ฟรีซ ( 1 )

2️⃣4️⃣ ถังน้ำหล่อเย็นสำรอง (coolant reserve tank) 💦
บางทีเรียกว่า overflow หรือ expansion tank ถังน้ำหล่อเย็นสำรองต่อกับหม้อน้ำด้วย ท่อยางขนาดเล็ก ทำให้มีการถ่ายเทน้ำหล่อเย็นระหว่างหม้อน้ำ กับถังน้ำหล่อเย็นสำรอง กล่าวคือ เมื่อเครื่องยนต์ร้อนน้ำหล่อเย็นจะถูกขับดันออกจากหม้อน้ำมายังถังน้ำหล่อเย็นสำรอง และเมื่อเครื่องยนต์เย็นลง น้ำหล่อเย็นจะไหลจากถังกลับสู่หม้อน้ำ ดังนั้นรถยนต์ที่มีถังหล่อน้ำเย็นสำรอง จะพบว่าหม้อน้ำมีน้ำเย็นเต็มอยู่เสมอ และในกรณีที่ต้องการ เติมน้ำหล่อเย็นสำรอง แทนการเติมที่หม้อน้ำโดยตรง ( 1 )
2️⃣5️⃣ เพลาข้อเหวี่ยง ( crankshaft ) 😶🌫️
เป็นเพลาส่งกำลังของเครื่องยนต์ ปลายข้างหนึ่งยึดติดกับมู่เล่เพลาข้อเหวี่ยง ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งยึดติดกับล้อช่วยแรง ( 1 )
2️⃣6️⃣ เสื้อสูบ ( cylinder block ) 🕸️
( ดูรูปที่ 1.8 ) เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของเครื่องยนต์ ซึ่งรวมกระบอกสูบเข้าไว้ในชิ้นเดียวกัน กับเสื้อสูบ ภายในเปลือกเสื้อสูบมีท่อทางเดินน้ำหล่อเย็นเพื่อระบายความร้อน ด้านบนของเสื้อฝาสูบ ส่วนด้านล่างเป็นอ่างน้ำมันเครื่อง โดยปกติเสื้อสูบทำจากเหล็กหล่อหรือโลหะผสมของอะลูมิเนียม ( 1 )
2️⃣7️⃣ ฝาสูบ ( cylinder head ) ⚒️
( ดูรูปที่ 1.8 ) อยู่ด้านบนของเสื้อสูบซึ่งคั่นกลางด้วยปะเก็น และมีท่อทางเดินของน้ำหล่อเย็น เช่นเดียวกับเสื้อสูบ ฝาสูบประกอบไปด้วยวาล์ว ไอดี ไอเสีย และชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน และยังมีรูซึ่งเป็นเกลียวสำหรับยึดหัวเทียนอีกด้วย ( 1 )
2️⃣8️⃣ เครื่องยนต์ดีเซล( diesel engine ) 🧩
เป็นอีกชนิดหนึ่งของเครื่องยนต์ ซึ่งแตกต่างไปจากเครื่องยนต์แก๊สโซลีน เครื่องยนต์ดีเซลใช้นำมันที่เรียกว่าโซล่า ไม่ใช้หัวเทียน ไม่มีจานจ่าย คอยล์ และคาร์บูเรเตอร์ เครื่องยนต์ ดีเซลมีเสียงดัง และสตาร์ตยุ่งยาก กว่าเครื่องยนต์แก๊สโซลีน แต่ถ้าเปรียบเทียบกันในด้านความ คงทนแข็งแรง การประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และการบำรุงรักษาแล้ว เครื่องยนต์ดีเซลดีกว่า ( 1 )
2️⃣9️⃣ ดิฟเฟอเรนเชียล ( differential ) 🛰️
หรือที่เรียกว่า ชุดเฟืองท้าย เป็นชุดเฟืองท้าย ซึ่งอยู่ในเสื้อเพลาหลัง จะส่งถ่ายกำลังเพลากลางไปยังเพลาข้าง และส่งต่อไปยังล้ออีกทีหนึ่ง จุดประสงค์ของดิฟเฟอเรนเชียล ก็เพื่อทำให้ล้อข้างซ้ายและขวาหมุนไปด้วยอัตราเร็วรอบที่แตกต่างกันในขณะที่รถกำลังเลี้ยวหรือขับขี่ บนถนนขรุขระ เช่น ในขณะที่รถกำลังเลี้ยวซ้าย ล้อข้างซ้ายจะหมุนด้วย อัตราเร็วรอบช้ากว่าข้างขวา เป็นต้น จึงทำให้ล้อไม่ลื่นไถลเสียการทรงตัวในขณะเลี้ยว ในกรณีของรถยนต์ที่ขับเคลื่อนล้อหน้า ดิฟเฟอเรนเชียล จะอยู่ที่ส่วนหน้าของรถใกล้กับห้องส่งกำลัง ( 3 )
เป็นอย่างไรบ้าง เห็นไหมว่า ไม่มีอะไรยาก หรือซับซ้อนอย่างที่เราคิด เราสามารถซ่อมบำรุง รักษาได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเข้าอู่ให้เสียเวลา บทความนี้ยกตัวอย่างเพิ่มเติมต่อจากเดิม EP. 1 , EP. 2 และ EP. 3 มา 7 ชิ้นส่วน แต่อีก EP. 4 ยกมา 8 ชิ้นส่วน สำหรับใครที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม อย่าลืมติดตาม EP. 5 ต่อนะคะ

📌 ได้ที่ลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ
แฟนเพจ : STM Racing Udon
สั่งซื้อสินค้า SHOPEE : STM Racing Shop
สั่งซื้อสินค้า LAZADA : STM Racing Shop
สั่งซื้อทางเว็บไซต์ : STMRACINGUDONTHANI.COM