กลับมาอีกแล้ว ความรู้พื้นฐาน EP. 3 เกี่ยวกับ ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ สำหรับมือใหม่ หรือใครที่กำลังหาข้อมูล ไว้เป็นความรู้พื้นฐานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เราก็สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง หรือบางทีเราสามารถซ่อมบำรุง รักษาได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเข้าอู่ให้เสียเวลา
จาก EP. 1 และ EP. 2ได้ยกตัวอย่าง ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ไป EP ละ 7 ชิ้นส่วน รวมแล้ว 14 ชิ้นส่วนนั้นเองค่ะ วันนี้ STM ได้นำข้อมูลมาเพิ่มเติม พร้อมอัดข้อมูลให้แน่น ๆ สำหรับใครที่ตั้งหน้าตั้งตา รออ่านไว้ต่อยอดหรือ เรียนรู้ไว้พื้นฐานในตัว จะได้รู้ว่าเสียจากเหตุใด เกิดได้อย่างไร ควรทำอย่างใด สำหรับใครที่ยังไม่อ่าน EP. 1 และ EP. 2 อย่าลืมกดลิงค์ย้อนกลับไปอ่านกันนะคะ ทาง STM ได้เเปะไว้ด้านล่างนะคะ
ก่อนอื่นมาทบทวนว่า ระบบพื้นฐานของรถยนต์ แบ่งเป็นระบบใหญ่ แบ่งเป็นอะไร ตามไปดูกันค่ะ
ระบบพื้นฐานของรถยนต์ 🚕
ระบบพื้นฐานของรถยนต์ แบ่งเป็นระบบใหญ่ ๆ ดังนี้ 🚩
- เครื่องยนต์ ( enging )
- ระบบส่งกำลัง ( transmission )
- ระบบขับเคลื่อน ( driveline and axles )
- ระบบบังคับเลี้ยว ระบบกันสะเทือน ล้อ และยาง ( steering , suspen – sion , wheels , and tires )
- ระบบเบรก ( braking ststem )
- ระบบไฟฟ้า ( chassis and body electrical systems )
- ตัวถัง โครงฐาน และกันชน ( body , frame , and bumpers )
- ระบบทำความร้อน ระบายอากาศ และปรับอากาศ ( heating – ventilating – air conditoning )
ระบบต่าง ๆ เหล่านี้ ยังแยกเป็นระบบย่อย ได้อีกมากมาย จนถึงรายละเอียดชิ้นส่วนต่างของแต่ละชิ้น ซึ่งมีน้อยคนมากที่จะรู้ และเข้าใจได้ทันทีที่กล่าวถึง นอกเสียจากได้ลงมือซ่อม และบำรุงรักษาด้วยตนเองมาก่อน ความสัมพันธ์ และการทำงานของระบบพื้นฐาน ดังกล่าว ตลอดจนชิ้นส่วน
สำหรับใครที่ยังไม่อ่านบทความ EP. 1 และ EP. 2 อย่าลืมกดลิงค์เข้าไปอ่านกันนะคะ ต่อไปน้อง STM จะขึ้นหัวข้อต่อจากเดิมที่แล้ว เริ่มกันเลยค่ะ
ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ EP. 1 ☝️
ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ EP. 2 ☝️
1️⃣5️⃣ คาร์บอนมอนอกไซด์ ( carbon monoxide )😶🌫️
เป็นก๊าซพิษที่ไม่มีกลิ่น พบในท่อไอเสียรถยนต์ที่ปล่อยออกมา ( 1 )
1️⃣6️⃣ อุปกรณ์กำจัดก๊าซพิษ ( catalytic converter )💨
เป็นอุปกรณ์ในระบบควบคุมการขับถ่ายไอเสีย ติดตั้งอยู่ด้านนล่างเครื่องยนต์ มีหน้าที่เปลี่ยนส่วนผสมของไอเสีย ที่ได้จากการสันดาปให้มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อมน้อยลงก่อนขับถ่ายออกมา รูปที่ 1.10 แสดงรายละเอียดภายในของอุปกรณ์กำจัดก๊าซพิษชนิดหนึ่งที่ใช้กันอยู่ สำหรับรถยนต์ที่วิ่งอยู่ในประเทศไทยเรานั้น มีน้อยคันที่มีอุปกรณ์ชนิดนี้ติดอยู่ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากยังไม่มีกฎหมายควบคุมอย่างจริงจัง ( 1 )
รูปที่ 1.10 รายละเอียดภายในของอุปกรณ์กำจัดก๊าซพิษ
1️⃣7️⃣ หม้อดักไอน้ำมันเชื้อเพลิง ( charcoal canister )🔥
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบควบคุมการขับถ่ายไอเสีย มีหน้าที่ดักไอน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเล็ดลอดออกมาจากคาร์บูเรเตอร์ หรือจากส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบน้ำมันเชื้อเพลิง รูปที่ 1.11 แสดงหม้อดักไอน้ำเชื้อเพลิงที่ใช้กันทั่วไป ( 1 )
รูปที่ 1.11 หม้อดักไอน้ำมันเชื้อเพลิง
1️⃣8️⃣ โช๊ค ( choke )➿
มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะ ติดตั้งอยู่ตรงทางเข้าคาร์บูเตอร์ ( ตามรูปที่ 1.9 ) มีหน้าที่ปรับอัตราส่วนผสมของอากาศ และน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสม กับอุณหภูมิของเครื่องยนต์ เช่นเมื่อสตาร์รถยนต์ ในขณะที่เครื่องยนต์เย็น อัตราส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมากกว่าอากาศ ปีกโช๊คจะทำให้อากาศเข้ามาในปริมาณที่น้อยกว่าปกติ เมื่อเครื่องยนต์ร้อนขึ้น ปีกโช๊คจะเปิดออกให้เพื่อให้ได้อัตราส่วนผสมเหมาะสม จากนั้นโช๊คก็จะหมดความจำเป็น เมื่อเครื่องยนต์ร้อนถึงอุณหภูมิปกติ โช๊คแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบปรับด้วยมือ และแบบอัตโนมัติ ( 1 )
1️⃣9️⃣ คลัตช์ ( clutch )🚩
เป็นชิ้นส่วนที่ทำงาน ในลักษณะเป็นตัวตัด และต่อระหว่างตัวขับกับตัวถูกขับ ในรถยนต์คลัตช์ จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างเครื่องรถยนต์ หรือขับกับระบบส่งกำลัง หรือตัวถูกขับในระบบปรับอากาศ คลัตช์จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างเครื่องยนต์กับคอมเพรสเซอร์ ( 2 )
2️⃣0️⃣ คอยล์ ( coil )♨️
คอยล์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ ( ดูรูปที่ 1.12 ) ทำหน้าที่ในลักษณะ เช่นเดียวกับหม้อแปลงไฟฟ้า กล่าวคือ จะเป็นตัวแปลงค่าความดันไฟฟ้าจาก 12 โวลต์ เป็น 20,000 โวลต์ หรือมากกว่า เพื่อทำให้เทียนเกิดประกายไฟในการจุดระเบิด ในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ( 1 )
รูปที่ 1.12 ชิ้นส่วนในระบบจุดระเบิด
2️⃣1️⃣ คอนเดนเซอร์ ( condenser )🧩
เป็นชิ้นส่วนในระบบจุดระเบิดแบบใช้ทองขาว เป็นตัวช่วยยืดอายุการใช้งานของทองขาว กล่าวคือการป้องกันการเคลื่อนย้ายของโลหะ บริเวณหน้าทองขาว และช่วยลดการเกิดประกายไฟบริเวณหน้าทองขาว ในขณะใช้งาน และยังเป็นตัวช่วยลดสัญญาณรบกวนที่วิทยุ อีกด้วย รูปที่ 1.13 แสดงคอนเดนเซอร์ซึ่งบรรจุอยู่ภายในจานจ่าย ( 1 )
รูปที่ 1.13 ส่วนประกอบภายในจานจ่าย
เป็นอย่างไรบ้าง เห็นไหมว่า ไม่มีอะไรยาก หรือซับซ้อนอย่างที่เราคิด เราสามารถซ่อมบำรุง รักษาได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเข้าอู่ให้เสียเวลา บทความนี้ยกตัวอย่างเพิ่มเติมต่อจากเดิม EP. 1 , EP. 2 มา 7 ชิ้นส่วน สำหรับใครที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม อย่าลืมติดตาม EP. 4 ต่อนะคะ
📌 ได้ที่ลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ
แฟนเพจ : STM Racing Udon
สั่งซื้อสินค้า SHOPEE : STM Racing Shop
สั่งซื้อสินค้า LAZADA : STM Racing Shop
สั่งซื้อทางเว็บไซต์ : STMRACINGUDONTHANI.COM