กลับมาอีกแล้ว เกี่ยวกับ ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ สำหรับมือใหม่ หรือใครที่กำลังมองหาข้อมูล ไว้เป็นความรู้พื้นฐาน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เราก็สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง หรือบางทีเราสามารถซ่อมบำรุง รักษาได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเข้าอู่ให้เสียเวลา

จาก EP. 1 , EP. 2 , EP. 3 , และ EP. 4 ได้ยกตัวอย่าง ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ไป รวมแล้ว 29 ชิ้นส่วนนั้นเองค่ะ วันนี้ STM ได้นำข้อมูลมาเพิ่มเติม พร้อมอัดข้อมูลแน่น ๆ สำหรับใครที่ตั้งหน้าตั้งตา รออ่านไว้ต่อยอดหรือ เรียนรู้ไว้เป็นพื้นฐานในตัว จะได้รู้ว่าเสียจากเหตุใด เกิดได้อย่างไร ควรทำอย่างไร สำหรับที่ยังไม่อ่าน EP. 1 , EP. 2 , EP. 3 และ EP. 4 อย่าลืมกดลิงค์ย้อนกลับไปอ่านกันนะคะ ทาง STM ได้ทิ้งลิงค์ไว้ด้านล่างนะคะ

ก่อนอื่นมาทบทวนว่า ระบบพื้นฐานของรถยนต์ แบ่งเป็นระบบใหญ่ แบ่งเป็นอะไร ตามไปดูกันค่ะ

ระบบพื้นฐานของรถยนต์ 🚕

ระบบพื้นฐานของรถยนต์ แบ่งเป็นระบบใหญ่ ๆ ดังนี้

  1. เครื่องยนต์ ( enging )
  2. ระบบส่งกำลัง ( transmission )
  3. ระบบขับเคลื่อน ( driveline and axles )
  4. ระบบบังคับเลี้ยว ระบบกันสะเทือน ล้อ และยาง ( sreering , suspen – sion , wheels , and trires )
  5. ระบบเบรก ( draking ststem )
  6. ระบบไฟฟ้า ( chassis and body electrical systwms )
  7. ตัวถัง โครงฐาน และกันชน ( body , fram , and bumpers )
  8. ระบบทำความร้อน ระบายอากาศ และปรับอากาศ ( heating – ventilating – air conditoning )

ระบบต่าง ๆ เหล่านี้ ยังแยกเป็นระบบย่อย ได้อีกมากมาย จนถึงรายละเอียดชิ้นส่วนต่าง ๆ ของแต่ละชิ้น ซึ่งมีน้อยคนมากนักที่จะรู้และเข้าใจ ได้ทันทีที่กล่าวถึง นอกเสียจากได้ลงมือซ่อม และบำรุงรักษาด้วยตนเอง ความสัมพันธ์ และการทำงานของระบบพื้นฐาน ดังกล่าว

สำหรับใครที่ยังไม่อ่านบทความ EP. 1 , EP. 2 , EP. 3 และ EP. 4 อย่าลืมกดลิงค์เข้าไปอ่านกันนะคะ ต่อไปน้อง STM จะขึ้นข้อต่อจากเดิมที่แล้ว เริ่มกันเลยค่ะ

https://stmracingudonthani.com/stm00015/

ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ EP. 1 🚕

https://stmracingudonthani.com/stm00016/

ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ EP. 2 🚗

https://stmracingudonthani.com/stm00017/

ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ EP. 3 🚓

https://stmracingudonthani.com/stm00018/

ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ EP. 4 🚙

EP. 5 ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ 🚕💨

3️⃣0️⃣ ก้านวัดระดับน้ำมัน ( dipstick )⚗️

มีลักษณะเป็นลวดเหล็กปลายแบน ใช้สำหรับวัดระดับน้ำมันในอ่างน้ำมันเครื่อง ในห้องส่งกำลังแบบอัตโนมัติ และในปั๊มของพวงมาลัยเพาเวอร์ เพื่อตรวจสอบดูว่ามีน้ำมันเพียงพอ หรือไม่ ในแต่ละแห่ง จะมีก้านวัดระดับน้ำมันโดยเฉพาะ และไม่ควรดึงออกถ้าไม่ได้มีการตรวจระดับน้ำมัน ( 1 และ 2)

3️⃣1️⃣ จานจ่าย ( distributor ) ♦️

เป็นชิ้นส่วนที่มีหน้าที่จ่ายไฟแรงสูง จากคอยล์ไปยังหัวเทียนผ่านหัวกระจอก ( rotor ) และสายหัวเทียน จานจ่ายซึ่งแสดงให้เห็น ในรูปที่ 1.8 นั้นจะแยกต่างหากออกจากคอยล์ แต่ในจานจ่ายของ ระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ คอยล์กับจานจ่ายจะรวมอยู่ในชุดเดียวกันตามแสดงในรูปที่ 1.14 ( 1 )

รูปที่ 1.14 ภาพด้านบนของจานจ่ายในระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ ( ซ้าย ) และเมื่อเปิดฝาด้านบนออก ( ขวา )

3️⃣2️⃣ สายพานขับ ( drive belt ) ⚒️

เป็นสายพานรูปตัว v ตามภาคตัดขวางใช้สำหรับส่งถ่ายกำลังจากเพลาข้อเหวี่ยงไปยังส่วนอื่น ๆ ของเครื่องยนต์ โดยปกติจะมีไม่เกิน 3เส้น คือ ใช้สำหรับขับไดชาร์จ และปั๊มน้ำหนึ่ง ขับปั๊มน้ำมันพวงมาลัย เพาเวอร์หนึ่ง และขับคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศอีกหนึ่ง ( 1 )

3️⃣3️⃣ เพลาขับ ( drive shaft ) 🕹️

ในรถยนต์ที่ขับเคลื่อนล้อหลัง เพลาขับนี้จะถูกเรียกว่าเพลากลาง ( propeller shaft ) ซึ่งมีลักษณะเป็นเพลากลวงยาวอยู่ใต้ท้องรถ โดยเป็นตัวส่งผ่านกำลังผ่านกำลังจากเกียร์มายังชุดเฟืองท้าย แต่สำหรับรถยนต์ที่ขับเคลื่อนล้อหน้า จะมีเพลาขับ 2 ตัวเป็นเพลาตัน และสั้นซึ่งมีความยาวไม่เท่ากัน ( 3 )

3️⃣4️⃣ ระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ ( electronic ignition ) 💥

ในปัจจุบันมีด้วยกันหลากหลายแบบ ในที่นี้หมายถึงระบบจุดระเบิด ซึ่งไม่ใช่ทองขาว และ( บางครั้ง ) คอนแดนเซอร์ ( ดูรูปที่ 1.15 ) แต่จะใช้คอยล์กับอาร์มาเจอร์ทำงานหน้าที่แทน ข้อดีของระบบนี้ก็คือ ให้ประกายไฟที่แรง และถูกต้องกว่า อายุการใช้งานนานกว่า ทั้งยังช่วยเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์ และไม่ค่อยมีเวลาในการบำรุงรักษา แต่ในกรณีที่เกิดเสียขึ้นมาจะต้องเปลี่ยนทั้งชุดซึ่งค่าใช้จ่าย จะสูงกว่าระบบจุดระเบิดแบบใช้ทองขาว ( 1 )

รูปที่ 1.15 ชิ้นส่วนภายในของจานจ่ายในระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์

3️⃣5️⃣ ระบบควบคุมการขับถ่ายไอเสีย ( emission – control system ) 🏴‍☠️

ประกอบด้วยวาล์ว และควบคุมต่าง ๆ รวมทั้งสารเคมีที่ใช้เพื่อช่วยลดก๊าซที่ถูกขับถ่ายสู่บรรยากาศ ( 1 )

3️⃣6️⃣ เครื่องยนต์ ( engine ) 🚖

โดยทั่วไปเครื่องยนต์เป็นแบบลูกสูบ 4 จังหวะ ใช้น้ำมันแก๊สโซลีนเป็นเชื้อเพลิง และสันดาปภายในกระบอกสูงดังรูปที่ 1.16 แต่ยังมี เครื่องยนต์ประเภทอื่นอีกที่ใช้กันคือเครื่องยนต์ โรตารี่ ซึ่งใช้ลูกสูบสามเหลี่ยม และเครื่องยนต์ซึ่งใช้กันมานานในรถบรรทุก ( 1 )

รูปที่ 1.16 เครื่องยนต์แก๊สโซลีน

3️⃣7️⃣ ท่อร่วมไอเสีย ( exhaust manifold ) 💥

เป็นชิ้นส่วนภายนอกเครื่องยนต์ ซึ่งต่อระหว่างทางออกของวาล์วไอเสียเพื่อระบายไอเสียออกสู่บรรยากาศ ( 1 )

3️⃣8️⃣ ท่อไอเสีย ( exhast pipe ) 💨

เป็นท่อส่วนที่ต่อจากท่อร่วมไอเสียผ่านอุปกรณ์ กำจัดก๊าซพิษ ( ถ้ามี ) จนถึงหม้อพัก ( muffler ) จากนั้นมีท่อส่วนปลายต่อออก จากหม้อพักซึ่งมักประกอบด้วยหม้อลดเสียง ( 1 )

รูปที่ 1.17 ระบบท่อไอเสีย ( ไม่ได้แสดงส่วนที่ต่อออกจากท่อร่วมไอเสียจนถึงอุปกรณ์กำจัดก๊าซพิษ )

3️⃣9️⃣ พัดลม ( fan ) ❄️

พัดลมติดตั้งอยู่ด้านหลังหม้อน้ำของเครื่องยนต์ ที่ใช้น้ำเป็นตัว หล่อเย็น และอยู่บนเพลาเดียวกันกับเพลาปั๊มน้ำ มู่เล่ของปั๊มน้ำ ถูกขับด้วยสายพานที่ต่อมาจากสายมู่เล่เพลาข้อเหวี่ยง ในรถยนต์บางยี่ห้อใช้ คลัตช์พัดลม ( fan dutch ) เป็นตัวควบคุมการหมุนของพัดลม กล่าวคือ พัดลมจะยังไม่หมุนที่ อุณหภูมิต่ำจนกว่าอุณหภูมิของเครื่องยนต์จะสูงขึ้น และพัดลมจะหมุนช้าลง เมื่ออุณหภูมิเริ่มลดลง ดังนั้นคลัตช์พัดลมจึงทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของเครื่องยนต์ ให้เหมาะสมตลอดเวลาที่เครื่องยนต์กำลังทำงานอยู่ นอกจากนี้ รถยนต์บางคันอาจขับเคลื่อนพัดลมด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งแยกเป็นอิสระจากการขับเคลื่อนด้วยกำลังเพลาข้อเหวี่ยง และมิเตอร์โมสตัตควบคุมการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าอีกทีหนึ่ง ดังรูปที่ 1.18 แสดงพัดลมหม้อน้ำของรถยนต์ที่ขับรถยนต์ที่ขับเคลื่อนที่ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ในกรณีของเครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยอากาศนั้น จำเป็นต้องออกแบบพัดลมให้ได้ปริมาณลมมากพอที่จะสามารถป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ร้อนจัดเกินไป และยังสามารถส่งความร้อนไปให้ผู้ขับขี่ได้อีกด้วยในฤดูหนาว ( 1 )

รูปที่ 1.18 พัดลมหม้อน้ำซึ่งขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า

4️⃣0️⃣ แผงหลังห้องเครื่อง ( firewall ) 🧩

เป็นชิ้นส่วนของตัวถังรถยนต์ซึ่งคั่นระหว่างห้องเครื่องยนต์กับห้องผู้โดยสาร ( 7 )

4️⃣1️⃣ ชุดไฟกระพริบ ( flasher unit )

เป็นอุปกรณ์ทำให้เกิดไฟกระพริบที่สัญญาณไฟเลี้ยว (ดูรูปที่ 1.19 ) อุปกรณ์นี้มักมี 2 ชุด ซึ่งใช้สำหรับไฟเลี้ยวตามปกติ และใช้สำหรับเตือนภัยซึ่งจะมีไฟกระพริบทั้ง 4 ดวงพร้อมกัน ( 6 )

4️⃣2️⃣ ล้อช่วยแรง ( flywheel ) 📌

เป็นชิ้นส่วนซึ่งติดตั้งอยู่ด้านหลังเครื่องยนต์ ตอนปลายของเพลาข้อเหวี่ยง มีลักษณะเป็นเหล็กดัน แบบกลมและหนัก โดยรอบเป็นฟันเฟืองเพื่อใช้กับเฟืองของไดสตาร์ตในขณะที่สตาร์ตเครื่องยนต์ ล้อช่วยแรงมีหน้าที่ช่วยทำให้เครื่องยนต์เดินเรียบ และทำหน้าที่เป็นตัวขับสำหรับคลัตช์ นอกจากนี้ล้อช่วยแรงซึ่งมีฟันเฟืองโดยรอบทำให้สตาร์ตเครื่องยนต์ได้ง่ายขึ้น โดยใช้ได้สตาร์ตสำหรับรถยนต์ ที่ใช้ห้องส่งกำลังแบบอัตโนมัติ จะมีล้อช่วยแรง ซึ่งที่น้ำหนักเบากว่าสำหรับรถยนต์ที่ใช้ห้องส่งห้องกำลังแบบธรรมดา ( 1 )

4️⃣3️⃣ การขับเคลื่อนล้อหน้า ( front wheel drive ) 🚖

ในรถยนต์ทั่ว ๆ ไปการขับเคลื่อนมักอาศัยสองล้อหลัง โดยการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ผ่านเพลากลางไปยังเพลาหลัง และส่งต่อไปยังล้อหลังทั้งสอง แต่ในระบบขับเคลื่อนล้อหน้าจะอาศัยสองล้อหน้าในการขับเคลื่อน จึงทำให้การออกรถและการบังคับควบคุมดีกว่า และเนื่องจากไม่มีเพลากลาง จึงทำให้เนื้อที่ในห้องโดยสารมีมากกว่ารถยนต์ ซึ่งใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง ( 2 )

รูปที่ 1.19 แผงฟิวส์สำหรับเสียบฟิวส์เพื่อใช้งานต่าง ๆ

4️⃣ 4️⃣ กรองน้ำมันเชื้อเพลิง ( fuel filtrer ) 🧪

อุปกรณ์ซึ่งใช้กรองสิ่งสกปรกและฝุ่นละอองที่มีอยู่ในน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบน้ำเชื้อเพลิงเกิดการอุดตัน หรือป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกเข้าไปในเครื่องยนต์ซึ่งอาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้ ( ดูรูปที่ 1.20 ) แสดงกรองน้ำมันเชื้อเพลิง และตำแหน่งของ ( 1 )

4️⃣5️⃣ ระบุหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ( fuel injection ) 🔬

เป็นระบบการป้อง การป้อนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปในเครื่องยนต์ ซึ่งใช้ในเครื่องยนต์ ดีเซลโดยอาศัยหัวฉีด นอกจากนี้ยังมีเครื่องยนต์แก๊สโซลีนบางชนิด ที่ใช้ระบบหัวฉีดเช่นกัน ซึ่งป้องกันน้ำมันเชื้อเพลิงได้แน่นอนกว่าคาร์บูเรเตอร์ ( 1 )

รูปที่ 1.20 กรองน้ำมันเครื่องเชื้อเพลิงซึ่งอยู่ภายในคาร์บูเรเตอร์ ( บน )

และอยู่ระหว่างท่อทางเดินน้ำมันเชื้อเพลิง ( ล่าง )

4️⃣6️⃣ ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง ( fuel pump ) 🛢️

ในเครื่องยนต์แก๊สโซลีนมักเรียกปั๊มนี้ว่า ( ดูรูปที่ 1.21 ) ปั๊มนี้มีหน้าที่ดูดน้ำมันเชื้อเพลิงจากถังน้ำมัน และป้อนเข้าสู่คาร์บูเรเตอร์ แต่ในเครื่องยนต์ดีเซลนั้น ปั๊มนี้จะป้อนน้ำมันเชื้อเพลิงเขาสู่ปั๊มหัวฉีดก่อน เพื่ออัดน้ำมันให้มีความดันสูงสำหรับส่งเข้าหัวฉีดต่อไป ( 1 )

รูปที่ 1.21 ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง ( fuel pump )

4️⃣7️⃣ แผงฟิวส์ ( fuse block ) 🧩

เป็นอุปกรณ์ ซึ่งเป็นที่ส่วนรวมของฟิวส์ทั้งหมดในระบบสายไฟฟ้า มักจะอยู่ภายในห้องโดยสารของรถยนต์ มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิด ความเสียหายขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ดังนั้นในกรณีที่ไฟหน้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ไม่ทำงาน ขั้นแรกควรตรวจฟิวส์ในแผงฟิวส์ก่อนว่าขาดหรือเปล่า ( 6 )

4️⃣8️⃣ สายฟิวส์ ( fusible link ) 🕸️

สายฟิวส์แตกต่างไปจากฟิวส์ธรรมดาที่อยู่ในแผงฟิวส์ ปกติจะอยู่ภายในเครื่องยนต์ เพื่อป้องกันความเสียหายในระบบสายไฟหลัก ระบบสตาร์ต และระบบชาร์จ ถ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายชิ้นไม่ทำงานทันทีพร้อม ๆ กัน เช่น ไดสตาร์ตไม่ทำงาน หรือแบตเตอรี่ไม่มีการชาร์จ อาจแสดงว่าฟิวส์ได้ขาดเสียแล้ว รูปที่ 1.22 แสดงสายฟิวส์ ก่อนและหลังมีการลัดวงจร

 

รูปที่ 1.22 สายฟิวส์ ก่อนและหลังการลัดวงจร

4️⃣9️⃣ ปะเก็น ( gasket )

ปะเก็นเป็นชิ้นส่วนเล็ก ตรงปลายมีลูกปืนกลมติดอยู่ และติดตั้งอยู่ที่ลูกหมาก และข้อต่อของคันชัก คันส่งในระบบบังคับเลี้ยว ใช้สำหรับอัดจารบี ( 4 )

5️⃣0️⃣ ซีลจารบี ( grease fittings ) 🏴

เป็นซีลจารบีที่อยู่บริเวณข้อต่อ ระหว่างชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่กับชิ้นส่วน ที่อยู่นิ่งเพื่อกันไม่ให้จารบีรั่ว และแบบป้องกันน้ำ และฝุ่นละอองไม่ให้เข้าไปในข้อต่อ ( 3 และ 4 )

5️⃣1️⃣ ไฟกระพริบเตือนภัย ( hazard flasher ) 🚨

เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ไฟเลี้ยว ทั้งซ้ายและขวากะพริบพร้อม ๆ กัน เพื่อเตือนให้ผู้ขับขี่ในรถยนต์คันอื่นระมัดระวัง เพราะรถยนต์คันที่เปิดไฟกระพริบเตือนภัยกำลังมีปัญหา เช่น เกิดอุบัติเหตุ รถยนต์ชนกัน เป็นต้น ( 6 )

5️⃣2️⃣ ไฟหน้า ( headights ) 💥

เป็นดวงไฟซึ่งติดตั้งอยู่ด้านหน้ารถยนต์ เพื่อช่วยในการมองเห็นถนนในการขับขี่ในเวลากลางคืน ( 6 )

5️⃣3️⃣ ไฮโดรคาร์บอน ( hydrocarbons ) 💨

เป็นสารประกอบที่ปล่อยออกมาทางท่อไอเสียซึ่งเป็นไอน้ำมันเชื้อเพลิงที่เผาไหม้ไม่หมด

EP. 6 ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ 🚕💨

5️⃣4️⃣ สัญญาณไฟเตือน ( idiot lights ) ⚒️

เป็นสัญญาณไฟเตือนซึ่งติดอยู่บนแผงหน้าปัด เพื่อเตือนให้ทราบว่าระบบต่าง ๆ กำลังมีปัญหา เช่น ไฟไม่ชาร์จเข้าแบตเตอรี่ ความดันน้ำมันเครื่องต่ำเกินไป และเครื่องยนต์ร้อนจัด เป็นต้น ( 6 )

5️⃣5️⃣ สวิตช์กุญแจ ( ingition switch ) 🧷

โดยปกติสวิตช์กุญแจ มักติดตั้งอยู่ที่คอพวงมาลัย และใช้ในการเปิดปิดเครื่อง เพื่อสตาร์ตและดับเครื่องยนต์ ตลอดจนเป็นสวิตช์ควบคุม อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในรถยนต์อีกด้วย ( 6 )

5️⃣6️⃣ ท่อร่วมไอดี ( intake manifold ) 🧩

ในเครื่องยนต์แก๊สโซลีนท่อร่วมไอดี จะเป็นทางผ่านของส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิงจาคาร์บูเรเตอร์ ไปยังท่อวาล์วไอดี ส่วนในเครื่องยนต์ดีเซล และเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ซึ่งใช้ระบบหัวฉีด ท่อร่วมไอดีจะเป็นทางผ่านของอากาศ จากหม้อกรองอากาศไปยังท่อวาล์วไอดี รูปที่ 1.24 แสดงท่อร่วมไอดี มีเครื่องยนต์แก๊สโซลีน V – 8 ( 1 )

รูปที่ 1.24 ท่อร่วมไอดีในเครื่องยนต์แก๊สโซลีน V – 8

5️⃣7️⃣ สัญญาณเตือนกันลืมลูกกุญแจ ( key duzzer ) ⚒️

เป็นสัญญาณเสียงกันลืมลูกกุญแจคาไว้กับสวิตช์กุญแจเสียงสัญญาณนี้จะดังขึ้นเมื่อเราเปิดประตูรถยนต์ ในขณะที่ยังมีลูกกุญแจคาอยู่ในสวิตช์กุญแจ และคงยังดังต่อไปจนกว่าจะเอาลูกกุญแจออกหรือปิดประตู ( 6 )

5️⃣8️⃣ แป้นเกลียวยึดล้อ ( lug nuts ) 🕹️

หรือที่เรียกว่า นอตล้อ มีไว้สำหรับยึดล้อของรถยนต์ รถยนต์บางคันมีแป้นเกลียวชนิดเกลียว ซ้ายสำหรับ ล้อข้างซ้าย และชนิดเกลียวขวาสำหรับขวาสำหรับล้อข้างขวา แต่โดยทั่วไปแล้วรถเก๋งจะใช้แป้นเกลียวชนิดเกลียว ขวาเท่านั้น ( 4 )

5️⃣9️⃣ สวิตซ์แมกเนติค ( magnetic switch ) 🏴‍☠️

เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ไดสตาร์ต และจะทำงานเมื่อเราบิดลูกกุญแจ ที่สวิตช์กุญแจ เพื่อสตาร์ตเครื่องยนต์ กระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ จะไหลผ่านสวิตช์แมกเนติคเข้าไดสตาร์ต ทำให้เครื่องยนต์ติดได้สวิตช์นี้ มักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โซลินอยล์ ( 1 )

6️⃣0️⃣ ไฟหรี่ข้าง ( marker light )

เป็นดวงไฟที่อยู่ในชุดไฟจอด หรือไฟท้ายเพื่อแสดงให้เห็นด้านหลังและความกว้างของรถยนต์ในขณะที่จอดในเวลากลางคืน

6️⃣1️⃣ หม้อพักไอเสีย ( mefflur ) 🚨

เป็นชิ้นส่วนในระบบท่อไอเสีย ( ดูรูปที่ 1.17 ) มีไว้เพื่อช่วยลดเสียงของเครื่องยนต์

6️⃣2️⃣ น้ำมัน ( oil ) 🛢️

น้ำมันที่ใช้ในรถยนต์ได้แก่ น้ำมันหล่อลื่นสำหรับรถยนต์ ห้อง ส่งกำลัง เฟืองท้าย ปั๊มพวงมาลัยเพาเวอร์ นอกจากนี้ยังมีน้ำมันเบรค น้ำมันคลัตช์ ซึ่งน้ำมันแต่ละชนิดไม่สามารถใช้แทนกันได้ และก็ผสมกันไม่ได้อีกด้วย หากใช้น้ำมันผิดประเภทอาจทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ ดังนั้นในการเลือกใช้น้ำมัน วิธีที่ดีที่สุดคือตรวจสอบจากคู่มือประจำรถยนต์ ( 1 – 5 และ 8)

6️⃣3️⃣ อ่างน้ำมันเครื่อง ( oil pan ) 🏴

เป็นชิ้นส่วนล่างสุดของเครื่องยนต์ ซึ่งใช้เก็บน้ำมันเครื่อง มัลักษณะ ตามรูปที่ 1.8 บริเวณด้านล่างสุดของอ่างจะมีรูถ่ายน้ำมัน เครื่องปิดอยู่ด้วยสลัดเกลียว ( 1 )

6️⃣4️⃣ ปั๊มน้ำมันเครื่อง ( oil spupm )

ปั๊มน้ำมันเครื่องเป็นชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ ( ดูรูปที่ 1.8 ) มีหน้าที่ดูดน้ำมันเครื่องไปหล่อลื่นต่าง ๆ ของเครื่องยนต์

6️⃣5️⃣ ซึลน้ำมันเครื่อง ( oil seal ) ⚗️

เป็นซีลที่มีหน้าที่เช่นเดียวกันกับซีลจารบี ต่างกันเพียงแต่ใช้กับน้ำมันเครื่องเท่านั้น ( 1 – 5 และ 8 )

6️⃣6️⃣ โอเวอร์ไดร์ฟ ( overdarive ) 🧩

โอเวอร์ไดร์ฟเป็นศัพท์เทคนิคซึ่งหมายถึง อัตราทดเฟืองที่ทำหน้าที่ให้เพลาตามหมุนเร็วกว่าเพลาขับ เป็นผลให้อัตราเร็วรอบเครื่องยนต์ ต่ำลงในขณะที่ขับขี่รถด้วยอัตราเร็วสูงขึ้น อัตราทดดังกล่าวขณะช่วยให้ประหยัดน้ำเพิ่มมากขึ้น แต่แรงบิดของเครื่องยนต์จะลดลง ( 2 )

6️⃣7️⃣ โอเวอร์เฮดแคม ( overhead cam ) 🧷

หมายถึง เพลาลูกเบี้ยวของเครื่องยนต์ ซึ่งได้รับการออกแบบให้อยู่ด้านบนของฝาสูบแทนที่จะอยู่ในเสื้อสูบ ดูรูปที่ 1.25 เพลาลูกบิดเบี้ยวแบบนี้เหมาะสำหรับรถยนต์ที่ขับขี่ด้วยอัตราเร็วสูง ( 1 )

รูปที่ 1.25 โอเวอร์เฮดแคม

6️⃣8️⃣ ออกไซด์ของไนโตรเจน ( oxides of nitrogen ) ♦️

เป็นก๊าซที่ออกมาจากท่อไอเสียซึ่งเกิดจากการสันดาปที่อุณหภูมิสูง และเป็นตัวการทำให้เกิดหมอกควัน

6️⃣9️⃣ เขม่า ( particulates ) 🌫️

เป็นผลที่เกิดจากการสันดาปแล้วมากับไอเสียรถยนต์ และล่องลอยอยู่อากาศ

7️⃣0️⃣ วาล์วพีซีวี ( PVC vale ) 🕹️

( PVC ย่อมาจาก positive crankcase ventilation ) เป็นชิ้นส่วนในระบบควบคุมการขับถ่ายไอเสียที่มีขนาดเท่าหัวนิ้วมือ ลักษณะทรงกระบอก ตามรูปที่ 1.26 วาล์วพีซีวี จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ เมื่อใช้งานนานช่วงเวลาหนึ่ง ( 1 )

รูปที่ 1.26 วาล์วพีซีวี

7️⃣1️⃣ ลูกสูบ ( piston ) 🕸️

ดูรูปที่ 1.8 ลูกสูบเป็นชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ ซึ่งต่อกับเพลาข้อเหวี่ยงโดยก้านสูบ และเครื่องที่ขึ้นลงภายในกระบอกสูบ ( 1 )

7️⃣2️⃣ แหวนลูกสูบ ( piston ring ) 🧩

เป็นแหวนรอบลูกสูบ ทำด้วยเหล็กกล้าผสม มีความเหนียว และมีความแข็งตึง คล้ายสปริง ทำหน้าที่เป็นซีลระหว่างลูกสูบกับผนังกระบอกสูบ ( 1)

7️⃣3️⃣ ล็อกประตูอัตโนมัติ ( power door locks ) 🚲

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ล็อก หรือปลดล็อกประตูรถยนต์ โดยที่กดปุ่มเพียงปุ่มเดียว ในรถยนต์บางคันประตูจะล็อกเองอัตโนมัติเมื่อรถยนต์มีอัตราเร็วที่กำหนด ( 7 )

7️⃣4️⃣ พวงมาลัยเพาเวอร์ ( power steerimg ) 🧭

เป็นพวงมาลัยที่ใช้ปั๊ม ไอดรอลิกในการช่วยผ่อนแรง ตามแสดงรูปที่ 1.27 ทำให้ออกแรงในการพวงมาลัยน้อย จึงทำให้การเลี้ยว และเข้าจอดในที่แคบ ๆ ได้สะดวกขึ้น และยังทำให้การควบคุมทิศทางของรถยนต์ เป็นไปอย่างประสิทธิภาพมากขึ้น ( 4 )

รูปที่ 1.27 ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์

7️⃣5️⃣ ท่อยางในระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ ( power steering hoses )

เป็นท่อยางไอโฮดรอลิก ซึ่งต่อระหว่างปมกับกระปุกเกียร์พวงมาลัย ( 4 )

7️⃣6️⃣ ปั๊มในระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ ( power steering pupm )

เป็นปั๊มที่ขับเคลื่อนด้วยสายพาน ติดตั้งอยู่กับเครื่องยนต์ด้านหน้า มีหน้าที่ส่งความดันไฮดรอลิกเข้าไปข้างในกระปุกเกียร์ของพวงมาลัย ของระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ ( 4 )

7️⃣7️⃣ กระจกไฟฟ้า ( power windows ) 🖼️

เป็นกระจกประตูของรถยนต์ ซึ่งทำงานโดยอาศัยมอเตอร์ไฟฟ้า ช่วยในการขึ้นลง ของกระจกแต่ละประตู จะมีสวิตช์ปิดเปิด เพื่อทำให้กระจกขึ้นลง และสวิตช์รวมควบคุมกระจกแต่ละประตูอีกชุดหนึ่ง ซึ่งผู้ขับขี่สามารถตัดการทำงานของระบบได้เพื่อช่วยการป้องกันอันตราย ที่จะเกิดกับเด็กหากไปเล่นสวิตช์ ข้อเสียของกระจกไฟฟ้าคือ ถ้าแบตเตอรี่เสียขึ้นมา กระจกทั้งหมดจะปิดตายไม่สามารถ เปิดได้ เนื่องจากไม่มีมือหมุนกระจก ( 6 )

7️⃣8️⃣ หม้อน้ำ ( radiator ) 🧪

หม้อน้ำเป็นชิ้นส่วนของรถยนต์ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า อยู่ด้านหน้ากระจัง ภายในบรรจุด้วยหล่อเย็น มีหน้าที่ในการระบายความร้อนของเครื่องยนต์สู่ภายนอก เพื่อให้เครื่องยนต์มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ( 1 )

7️⃣9️⃣ ท่อยางหม้อน้ำ ( radiator hoses )

เป็นหม้อยางใหญ่ ซึ่งต่อระหว่างเครื่องยนต์ และหม้อน้ำ ( 1 )

8️⃣0️⃣ เพลาหลัง ( rear axle ) 🚖

เพลาหลัง หรือเพลาท้ายอยู่ในเสื้อเพลาของรถยนต์ ขับเคลื่อนล้อหลัง มีหน้าที่ขับล้อหลัง ทั้งสองเครื่องยนต์ที่ ( 3 )

EP. 7 ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ 🚕💨

8️⃣1️⃣ หม้อลดเสียง ( reaonator ) 🔊

เป็นชิ้นส่วนในระบบท่อไอเสียของเครื่องยนต์บางคัน ติดตั้ง

8️⃣2️⃣ กระเดื่องวาล์ว( rocker arm ) ⚗️

เป็นชิ้นส่วนของฝาสูบของเครื่องยนต์โอเวอร์เฮกวาล์ว มีหน้าที่รับแรงกระแทก ขึ้นของแกนกระทุ้ง และส่งต่อแรงกระแทกไปยังวาล์ว ทำให้วาล์วเคลื่อนที่ลงหรือ เปิดออกนั่นเอง แต่ละกระสูบมีกระเดื่องวาล์วสูบสองอัน ( 1 )

8️⃣3️⃣ ดีเซลลิ่ง ( run – on , after – run ,or dieseling ) 🧩

หมายถึง อาการปรับคาร์บูเรเตอร์ แก๊สโซลีน ซึ่งยังทำงานต่อไปอีกทั้ง ๆ ที่ได้ปิดสวิตช์กุญแจ แล้วก็ตาม การปรับคาร์บูเรเตอร์ โช๊ค หรือการติดตั้งไฟใหม่ จะช่วยการรักษาอาการนี้ได้ นอกจากนี้ การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ที่มีค่าออกแทนต่ำ ก็ทำให้มีอาการเช่นนี้

8️⃣4️⃣ ระบบเตือนภัยเข็มขัดนิรภัย ( saetbelt warning system ) 🪢

เป็นระบบเตือนการรัดเข็มขัดนิรภัย กล่าวคือ หากผู้ขับขี่ไม่รัดเข็มขัดนิรภัย จะไม่สามารถสตาร์ตเครื่องยนต์ได้ ทั้งมีสัญญาณเสียง และสัญญาณไฟคอยเตือนอีกด้วย แต่เมื่อรัดเข็มขัดนิรภัยแล้วจะสามารถสตาร์ตเครื่องยนต์ได้ ( 6 )

8️⃣5️⃣ คันเกียร์อัตโนมัติ ( salector lever )

คันเกียร์ของระบบอัตโนมัติ ซึ่งอาจอยู่ที่คอพวงมาลัย หรือพื้นที่ ใช้สำหรับเลือกตำแหน่งในการขับขี่ โดยมีหน้าที่ปัดบอกตำแหน่ง ( 2 )

8️⃣6️⃣ คันเกียร์ธรรมดา ( shift lever ) 🕹️

เป็นคันเกียร์ของคันเกียร์ธรรมดา อาจอยู่ที่คอของพวงมาลัย หรือพื้นที่นั้นเช่นเดียวกันกับคันเกียร์อัตโนมัติ ( 2 )

8️⃣7️⃣ โช๊คอัพ ( shock absorber ) 🧬

เป็นชิ้นส่วนทางไฟฟ้าแม่เหล็กซึ่งปิดเปิดวงจรไฟฟ้า หรือวาล์วน้ำมันเชื้อเพลิง หรือใช้บังคับให้ชิ้นส่วนอื่นทำงาน ในระบบสตาร์ตใช้โซลีนนอยต์ เป็นตัวบังคับให้ฟันเฟืองของไดสตาร์ต เข้าไปฟันเฟืองของล้อช่วยแรงของเครื่องยนต์ และใช้สำหรับควบคุมการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิง เพลิงของเครื่องยนต์ดีเซล

รูปที่ 1.28 โช๊คอัพซึ่งติดตั้งอยู่ภายในสปริงขด

รูปที่ 1.29 ระบบกันสะเทือนแบบแมคเฟอร์สันตรัต

8️⃣8️⃣ ยางอะไหล่ ( spare tire ) ⚒️

เป็นยางที่ติดตั้งอยู่ในรถยนต์ เพื่อสามารถนำมาใช้ได้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ยางแตก ยางแบน เป็นต้น รูปที่ 1.30 แสดงยางอะไหล่ ขนาดมาตรฐาน และยางอะไหล่ขนาดเล็ก ( 4 )

รูปที่ 1.30 ยางอะไหล่ขนาดมาตรฐาน ( ซ้าย ) และยางอะไหล่ขนาดเล็ก ( ขวา )

8️⃣9️⃣ หัวเทียน ( spark plug ) 🚨

เป็นตัวให้ประกายไฟในการกระจุดระเบิด ส่วนผสมของอากาศ และน้ำมันเชื้อเพลิงในกระบอกสูบของเครื่องยนต์ แก๊สโซลีน หัวเทียนมีจำนวนเท่ากับจำนวนกระบอกสูบ และยึดติดกับเครื่องยนต์ โดยการขันเกลียวที่ ฐานหัวเทียนเข้าไปในฐานเกลียวที่ฝาสูบ

9️⃣0️⃣ เครื่องวัดอัตราเร็ว ( speedomter ) 🧩

เป็นมิเตอร์สำหรับวัดอัตราเร็วของรถยนต์ เป็นกิโลเมตรต่อชั่วโมง และติดตั้งอยู่บนแผงหน้าปัด โดยปกติมักมีตัวเลขแสดงระยะทางสะสมเป็นกิโลเมตรรวมอยู่ด้วย บางชนิดอาจมีชุดตัวเลขที่ใช้วัดระยะทางเป็นครั้งคราวได้ในการเดินทางแต่ละครั้ง

9️⃣1️⃣ สปริง ( spring ) 🧷

เป็นชิ้นส่วนในระบบในการกันสะเทือนของรถยนต์ ทำหน้าที่เป็นตัวรองรับน้ำหนักของรถยนต์ และช่วยในการขับขี่นิ่มขึ้น สปริงแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น สปริงขด สปริงแผ่น และทอร์ชั่นบาร์ เป็นต้น ( 4 )

9️⃣2️⃣ ไดสตาร์ต ( starter ) 🕸️

มีลักษณะเช่นเดียวกันกับมอเตอร์กระแสตรง ทำหน้าที่ในการสตาร์ตเครื่องยนต์ ( ดูรูปที่ 1.16 ) ( 1 )

9️⃣3️⃣ ไฟเบรก ( stoplight ) 🪄

เป็นดวงไฟที่ติดตั้งอยู่ ด้านหลังของรถยนต์เพื่อแสดงสัญญาณไฟให้รถยนต์ คันที่ขับตามมาทราบว่ารถยนต์คันหน้ากำลังหยุดรถ คือใช้ เบรก

9️⃣4️⃣ ท่อไอเสียส่วนปลาย ( tailpipe ) 🕹️

เป็นระบบชิ้นส่วนในระบบไอเสีย และอยู่ส่วนปลายของท่อไอเสีย ส่วนมากมักอยู่ด้านหลังรถยนต์ ท่อส่วนนี้ที่ต่อจากหม้อพักไอเสีย ( ดูรูปที่ 1.17 ) ( 1 )

9️⃣5️⃣ เทอร์โมสตัต ( thermostat ) ⚗️

เป็นชิ้นส่วนในระบบหล่อ มีลักษณะเป็นสวิตช์ควบคุมด้วยอุณหภูมิ มีหน้าที่ปิดกันการไหลของน้ำหล่อเย็นระหว่างหม้อน้ำ กับเครื่องยนต์ในขณะที่เครื่องเย็น เพื่อให้อุณหภูมิของเครื่องยนต์สูงเร็วขึ้นโดยเร็ว จนถึงอุณหภูมิที่เหมาะสม แล้วจึงเปิดให้ไหลผ่านโดยปกติ ( 1 )

9️⃣6️⃣ การตั้งไฟ ( timing )

การตั้งไฟอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งของลูกสูบกับการกระจุดระเบิดน้ำมันเชื้อเพลิงในกระบอกสูบในตัวกำหนด โดยแสดงค่าเป็นองศาของการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง เทียบกับตำแหน่งสูงสุดที่เรียกว่า จุดศูนย์ตายบน ( Top deaa center ma TDC ) การจุดระเบิดก่อนที่ลูกสูบจะถึงจุดศูนย์ตายบนแล้วเรียกว่า Before top dead center หรือ ATDC และการจุดระเบิดหลังจากลูกสูบผ่านจุดศูนย์ตายบนแล้วเรียกว่า After top dead center ในการตั้งไฟหากตั้งให้องศาของการจุดระเบิดเร็วกว่าขึ้นปกติ เรียกว่าไฟแก่ ถ้าช้ากว่าปกติเรียกว่า ไฟอ่อน และโดยปกติการตั้งไฟจะกระทำในขณะที่เครื่องยนต์ร้อน และหมุนที่รอบเดินเบา

9️⃣7️⃣ ยางรถยนต์ ( tire ) 🚜

โดยปกติแล้วแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ยางธรรมดา ยางธรรมดาพิเศษ และยางเรเดียล การเลิกใช้ยางควรเป็นไปตามข้อกำหนดของผู้ผลิตรถยนต์ การใช้ยางที่มีขนาดใหญ่กว่าที่กำหนดได้โดยปกติปราศจากผลเสียหาย แต่การใช้ยางที่มีขนาดเล็กกว่าไม่ควรกระทำ รูปที่ 1.31 แสดงยางชนิดต่าง ๆ ( 4 )

รูปที่ 1.31 โครงสร้างของยางเรเดียล ( บน ) และของยางธรรมดา ( ล่าง ยางธรรมดาเสริมพิเศษไม่ได้แสดงให้เห็น แต่ก็คือยางธรรมดาที่มีผ้าใบเสริมยามเพิ่มเข้ามาคล้ายกับของยางเรเดียล )

9️⃣8️⃣ ทอร์ชั่นบาร์ ( torsion bar ) 🧭

เป็นชิ้นส่วนในระบบกันสะเทือนของรถยนต์อีกแบบหนึ่ง มีลักษณะเป็นแท่งตันและยาง ทำหน้าคล้ายกับสปริงขด และสปริงแผ่น โดยการรับแรงบิดในแท่งเหล็ก ทำให้เกิดการขับขี่ที่นิ่ม ( ดูรูปที่ 1.32 ) ( 4 )

ดูรูปที่ 1.32 ระบบกันสะเทือนหน้าซึ่งใช้ทอร์ชั่นบาร์

9️⃣9️⃣ ช่วงล้อซ้ายขวา ( track ) 🛵

หมายถึง ระยะห่างระหว่างล้อซ้ายและล้อขวา โดยวัดระหว่างขอบนอกของล้อซ้ายและกับขอบนอกของล้อขวา ช่วงล้อซ้ายขวาของล้อ หน้าและล้อหลังไม่จำเป็นต้องเท่ากัน ( 4 )

1️⃣0️⃣0️⃣ เพลาร่วม ( transaxle )

เป็นชุดเพลาร่วมในรถยนต์ซึ่งขับเคลื่อนล้อหน้าตามรูปที่ 1.29 ซึ่งรวมการทำงานของห้องส่งกำลังและเฟืองท้ายในรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลังเข้าไว้ด้วยกัน ( 2 )

1️⃣0️⃣1️⃣ ห้องส่งกำลัง ( transaxle ) 🚨

เป็นชุดเฟืองซึ่งมีหน้าที่ในการปรับกำลังจากเครื่องยนต์ให้พอเหมาะสมกับความต้องการในการขับขี่ โดยอาศัยการทดเฟืองห้องส่งกำลังแบ่งออกเป็นแบบธรรมดา และแบบอัตโนมัติ ( 2 )

1️⃣0️⃣2️⃣ ดอกยาง ( tread ) 🧱

เป็นรูปแบบภายนอกของยางรถยนต์ ซึ่งสามารถสัมผัสกับพื้นผิวถนน มีความลึกเท่ากันตลอดเส้น โดยจะมีบางส่วนในแนวขวางของดอกยางสูงขึ้นมา เพื่อเป็นตัวแสดงให้ทราบว่ายางเส้นนั้นจะหมดอายุการใช้งานของอะไหล่ เมื่อดอกยางสัดส่วนนั้นควรเปลี่ยนยางใหม่ รูปที่ 1.33 แสดงดอกยางซึ่งมีแทบดำตามแนวยาวของดอกยาง

รูปที 1.33 ดอกยางที่หมดอายุการใช้งาน และจะมีแถบดำปรากฏให้เห็น

1️⃣0️⃣3️⃣ เทอร์โบชาร์เจอร์ ( turbocharger ) ♦️

เป็นเครื่องอัดอากาศเข้าไปในห้องเผาไหม้ เพื่อให้เครื่องยนต์มีกำลังสูง ( ดูรูปที่ 1.34 ) โดยจะติดตั้งตรงทางเข้าของไอดี เครื่องยนต์ที่ใช้เทอร์โบชาร์จเจอร์จะสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงพอ ๆ กับเครื่องยนต์ที่ไม่ใช้เทอร์โบชาร์จเจอร์ แต่จะทำให้กำลังสูงกว่าคล้ายกับว่าเครื่องยนต์มีขนาดใหญ่ ( 1 )

ดูรูปที่ 1.34 เทอร์โบชาร์จเจอร์ของเครื่องยนต์เบนซิน V – 6

1️⃣0️⃣4️⃣ ข้อต่ออ่อน ( universal joint ) 🧪

ข้อต่ออ่อนหรือบางครั้งเรียกว่า ย่อย เป็น ข้อต่อระหว่างเพลาสองอันซึ่งอยู่คนละระนาบ ทำให้สามารถส่งกำลังผ่านเพลา เปลี่ยนตำแหน่งไปมาในทุกทิศทาง ดูรูปที่ 1.35 โดยปกติ ในรถยนต์คันหนึ่ง ๆ จะมีข้อต่ออ่อนสองอันติดอยู่ที่ปลายทั้งสองข้างของเพลาส่งกำลังขับ บางคันอาจมีถึงสามอันถ้ามีเพลาส่งกำลังขับสองตอน ข้อต่ออ่อนบางชนิดมีหัวจารบีสำหรับให้การหล่อลื่น บางชนิดต้องถอดออกมาก่อนการหล่อลื่น และบางชนิดไม่จำเป็นต้องให้การหล่อลื่นตลอดชีวิตการใช้งาน ( 3 )

รูปที่ 1.35 ข้อต่ออ่อนสำหรับการขับเคลื่อนล้อหลัง ( บน ) และข้อต่ออ่อนแบบความเร็วคงที่ชนิดสามแฉกสำหรับการขับเคลื่อนล้อหน้า ( ล่าง )

1️⃣0️⃣5️⃣ วาล์ว ( valves ) 🕸️

วาล์วสำหรับเครื่องยนต์มีสองชนิด คือ วาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย ( ดูรูปที่ 1.8 ) วาล์วไอดีมีหน้าที่ควบคุมการไหลเข้าของส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิง และอากาศในเครื่องยนต์แก๊สโซลีน หรืออากาศอย่างเดียวในเครื่องยนต์ดีเซล ส่วนวาล์วไอเสียซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามีหน้าที่ควบคุมการไหลออกของไอเสีย ซึ่งเกิดจากการ สันดาปในห้องเผาไหม้สู่ท่อไอเสีย โดยปกติแต่ละกระบอกสูบจะประกอบด้วยวาล์วไอดีของวาล์วไอเสียอย่างละหนึ่ง ( 1 )

1️⃣0️⃣6️⃣ ฝาครอบวาล์ว ( valve cover ) 🧬

เป็นฝาครอบวาล์วเป็นชิ้นส่วนซึ่งปิดอยู่ด้านบนของฝาสูบ ตามรูปที่ 1.8 มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรก และฝุ่นละอองเข้าไปในระบบการทำงานของวาล์ว และป้องกันไม่ให้น้ำมันหล่อลื่นกระเด็นออก ภายนอก โดยปกติแล้วฝาครอบวาล์ว มักมีช่องสำหรับช่องเติมน้ำมันเครื่องซึ่งมีฝาปิดอยู่ ( 1 )

1️⃣0️⃣7️⃣ ปะเก็นฝาครอบวาล์ว ( valve cover gasket ) 🪢

เป็นปะเก็นซึ่งอยู่ระหว่างฝาครอบวาล์วกับฝาสูบของเครื่องยนต์

1️⃣0️⃣8️⃣ ลูกกระทุ้ง ( valve lifter ) ♦️

( ดูรูปที่ 1.8 ) เป็นชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ ซี่งเป็นตัวกลางในการรับแรงกระทำจากเพลา ลูกเบี้ยวแล้วส่งผ่านไปยังแกนกระทุ้ง และกระเดื่อง วาล์วเพื่อไปบังคับให้วาล์วปิดเปิด ( 1 )

1️⃣0️⃣9️⃣ เลขประจำรถยนต์ ( vehicle identification number ) 🅾️

ในรถยนต์ทุกคันนี้ จะต้องมีหมายเลขกำกับซึ่งแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ( ไม่รวมหมายเลขทะเบียน ) คือหมายเลขเครื่อง และหมายเลขตัวถัง โดยปกติหมายเลขเครื่องจะแสดงไว้บริเวณด้านล่างของลูกสูบ ส่วนหมายเลขตัวถังมักแสดงอยู่บนตัวถัง

1️⃣1️⃣0️⃣ เรกูเลเตอร์ ( valve regulator )

หรือบางคนเรียกว่าคัตเอาต์ เป็นอุปกรณ์การชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ โดยควบคุมแรงดันไฟฟ้าของไดชาร์จ โดยทั่วไป มักแยกต่างหากออกจากไดชาร์จ ตามรูปที่ 1.36 หรืออาจรวมเป็นชุดเดียวกัน กับไดชาร์จ ( 1 )

รูปที่ 1.36 เรกูเตอร์ชนิดแยกต่างหากจากไดชาร์จ

1️⃣1️⃣1️⃣ ปั๊มน้ำ ( wate pump )

( ดูรูปที่ 1.8 ) เป็นปั๊มที่ขับเคลื่อนด้วยสายพานที่ต่อมาจากมู่เล่ของเพลาข้อเหวี่ยง ปั๊มน้ำติดตั้งอยู่บนเพลาเดียวกันกับพัดลมหม้อน้ำ ( นอกจากพัดลมหม้อน้ำใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ) ปั๊มมีหน้าที่ปั๊มน้ำมันหล่อเย็นให้เกิดการหมุนเวียน ภายในระบบระบายความร้อนเพื่อหล่อเย็นเครื่องยนต์ ( 1 )

1️⃣1️⃣2️⃣ แบริ่งล้อ ( wheel bearing ) 🧪

มักเรียกกันว่า ลูกปืนล้อ มีไว้เพื่อให้ล้อสามารถหมุนได้อย่างสะดวก สำหรับรถยนต์ที่ขับเคลื่อนล้อหลังนั้น แบริ่งล้อหน้ามักหล่อลื่นด้วยจารบี ส่วนแบริ่งล้อหลังมักหล่อลื่นด้วยน้ำมันเฟืองท้ายซึ่งอยู่ในเสื้อเพลา ( 4 )

1️⃣1️⃣3️⃣ ช่วงล้อหน้าหลัง ( wheelbase )🚓

เป็นระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางของล้อหน้า และล้อหน้าในด้านเดียวกัน ( ล้อหน้าต้องอยู่ที่ตำแหน่งตั้งตรงไปข้างหน้า ) ระยะช่วงหน้าหลังยิ่งยาวยิ่งทำให้การขับขี่นิ่มมากขึ้น

1️⃣1️⃣4️⃣ ถังน้ำล้างกระจกบังลมหน้า ( windshield washer ) 💨

เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่ฉีดน้ำไปบนกระจกบังลมหน้าเพื่อให้ใบปัดน้ำฝนสามารถทำความสะอาดกระจกได้ ( 6 )

1️⃣1️⃣5️⃣ มอเตอร์ปัดน้ำฝน ( windshield washer ) 💦

เป็นมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่ง ได้รับการออกแบบมาเพื่อควบคุมการแกว่งไปมาของใบปัดน้ำฝนให้ช้าหรือเร็ว ตามความต้องการ ( 6 )

1️⃣1️⃣6️⃣ ชุดสายไฟ ( wiring harness ) ✳️

ชุดสายไฟในรถยนต์จะรวมกันเป็นมัดตามรูปที่ 1.37 โดยที่ปลายของสายไฟแต่ละเส้นเป็นหัวเสียบสำหรับต่อเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ในรถยนต์ เนื่องจากสายไฟถูกมัดรวมกันทำให้ยากแก่การจะรู้ หรือไม่ว่าเส้นใดต่อไปยังจุดใด ดังนั้นผู้ผลิตจึงใช้สายไฟที่มีสีต่าง ๆ กันเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ ( 1 และ 6 )

รูปที่ 1.37 ชุดสายไฟ

เป็นอย่างไรบ้าง เห็นไหมว่า ไม่มีอะไร ยาก หรือซับซ้อนอย่างที่เราคิด เราสามารถซ่อมบำรุง รักษาได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเข้าอู่ให้เสียเวลา บทความนี้ยกตัวอย่างเพิ่มเติมต่อจากเดิม EP. 1 , EP. 2 , EP. 3 และ EP. 4 สำหรับใครที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม อย่าลืมติดตาม STM ต่อนะคะ

สามารถปรึกษาเรื่องเพิ่มแรงม้าเครื่องยนต์❣️

📌 ได้ที่ลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ

แฟนเพจ : STM Racing Udon

สั่งซื้อสินค้า SHOPEE : STM Racing Shop

สั่งซื้อสินค้า LAZADA : STM Racing Shop

สั่งซื้อทางเว็บไซต์ : STMRACINGUDONTHANI.COM