กลับมาอีกเเล้ว เกี่ยวกับ ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ สำหรับมือใหม่ หรือใครที่กำลังหาข้อมูล ไว้เป็นความรู้พื้นฐานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เราก็สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ได้อย่างถูกต้อง หรือบางทีเราสามารถซ่อมบำรุง รักษาได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเข้าอู่ให้เสียเวลา
จาก EP. 1 เราได้ยกตัวอย่าง ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ ไป 7 อย่าง วันนี้ STM ได้นำข้อมูลมาเพิ่มเติมไว้ต่อยอด เผื่อว่าเวลามันเสียคุณจะได้รู้ว่าเสียจากเหตุใด เกิดได้อย่างไร ควรทำอย่างใด สำหรับใครที่ยังไม่อ่าน EP. 1 อย่าลืมคลิกลิงค์ที่ ทาง STM แปะไว้ด้านล่างนะคะ
ก่อนอื่นเรามาทบทวนว่า ระบบพื้นฐานของรถยนต์ แบ่งเป็นระบบใหญ่ แบ่งเป็นอะไรบ้าง ตามไปดูกันค่ะ 💨
ระบบพื้นฐานของรถยนต์ 🚕
ระบบพื้นฐานของรถยนต์ แบ่งเป็นระบบใหญ่ ๆ ดังนี้ 🏳
- เครื่องยนต์ ( engine )
- ระบบส่งกำลัง ( transmission )
- ระบบขับเคลื่อน และเพลา ( driveline and axles )
- ระบบบังคับเลี้ยว ระบบกันสะเทือน ล้อ และยาง ( steering , suspen – sion , wheels , and tires )
- ระบบเบรก ( braking ststem )
- ระบบไฟฟ้า ( chassis and body electrical systems )
- ตัวถัง โครงฐาน และกันชน ( body , frame , and bumpers )
- ระบบทำความร้อน ระบายอากาศ และปรับอากาศ ( heating – ventilating – air conditioning )
ระบบต่าง ๆ เหล่านี้ ยังแยกเป็นระบบย่อย ได้อีกมากมาย จนถึงรายละเอียดชิ้นส่วนของแต่ละชิ้น ซึ่งมีน้อยคนมากที่จะรู้และเข้าใจได้ทันทีที่กล่าวถึง นอกเสียจากได้ลงมือทำซ่อม และบำรุงรักษาด้วยตนเองมาก่อน ความสัมพันธ์ และการทำงานของระบบพื้นฐาน ดังกล่าว ตลอดจนชิ้นส่วน
สำหรับใครที่ยังไม่อ่านบทความ EP. 1 อย่าลืมกดลิงค์เข้าไปอ่านก่อนนะคะ ต่อไปน้อง STM จะขึ้นหัวข้อต่อจากเดิมที่แล้ว เริ่มกันเลยค่ะ
8️⃣ บูสต์ ( boost )
คือส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิง และอากาศที่อัดเสริมเข้าไปกระบอกสูบโดยเทอร์โบชาร์จเจอร์ แสดงค่าที่อ่านได้เป็นค่าความดันแตกต่าง
9️⃣ เบรก ( brake )
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการชะลอความเร็ว หรือหยุดรถโดยอาศัยแรงเสียดทาน ที่เกิดจากการทำงานของระบบไฮรอลิก ไปกดผ้าเบรคให้สัมผัส กับดรัมหรือดิสค์ เบรกแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 1. แบบดิสค์ 2. แบบดรัม
รูปที่ 1.6 แสดงเบรกแบบดิสค์แบบต่าง ๆ ซึ่งมีหลักการทำงานคล้าย ๆ กัน คือเมื่อเหยียบขาเบรก จะทำให้ผ้าเบรก ( brare pad ) ภายในคาลิเปอร์กดพบดิสค์ทั้งสองข้างเกิดแรงเสียดทานขึ้น และใช้ในการหยุดรถ เบรกแบบดิสค์ต้องใช้เบรกกดระหว่างผ้าเบรกดับดิสค์ค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงมักใช้หม้อลมเป็นตัวช่วยออกแรง
รูปที่ 1.7 แสดงเบรกแบบดรัม เมื่อเหยียบขาเบรก ลูกปั๊มเบรกจะดันผ้าทั้งสองข้างให้กดบนเส้นรอบวงด้านในของดรัม ทำให้เกิดแรงเสียดทานขึ้น เมื่อเปรียบเทียบเบรกทั้งสองแล้วพบว่า แบบเบรกดิสค์มีประสิทธิภาพสูงกว่า เพราะว่ามีความสามารถในการหยุดรถเหนือกว่า และการสึกหรอน้อยกว่า
รูปที่ 1.6 เบรกแบบดิสค์แบบต่าง ๆ
[ กันระหว่างความดันเบรก และความดันภายในท่อไอดีในช่วงเวลาที่เทอร์โบชาร์จเจอร์ทำงาน (1) ]
รูปที่ 1.7 เบรกแบบดรัม
🔟น้ำมันเบรก ( brake fluid )
น้ำมันเบรกเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความดันที่ กดลงบนขาเบรกไปยังระบบเบรคที่ล้อ ดังนั้นน้ำมันเบรกจึงควรมีลักษณะที่ไม่เปลี่ยนแปลงในเชิงปริมาตรเมื่อถูกกระทำด้วยความดันสูง ในรถยนต์น้ำมันเบรกจะถูกเก็บไว้บนหรือไม่ก็ใกล้ ๆ กับแม่ปั๊มเบรก ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ตอน แยกจากกันคือ สำหรับสองล้อหน้าตอนหนึ่ง และสองล้อหลังอีกตอนหนึ่ง ทั้งนี้ ก็เพื่อปลอดภัย หากตอนใดตอนหนึ่งเกิดระบบขัดข้อง เมื่อใดที่เหยียบขาเบรก น้ำมันจะไหลผ่านท่อเบรกซึ่งเป็นท่อเหล็กไปยังล้อทั้งสี่ แต่สำหรับล้อหน้านั้นที่ท่อเบรกที่เป็นท่อเหล็กจะต้องต่อกับท่อยาง เพื่อให้สามารถบิดงอได้ขณะที่ล้อเลี้ยวไปมา
รูปที่ 1.8 เพลาเครื่องยนต์ 6 สูบ
( ทั้งยังไม่มีผลเสียหายเมื่อมีความร้อนเกิดขึ้นเนื่องจากความเสียดทาน และเบรกไม่ลื่นเมื่อถูกน้ำ รถยนต์ทั่วไปอาจเบรกดิสค์ หรือแบบดรัมทั้งสี่ล้อ หรือใช้แบบผสมกัน )
1️⃣1️⃣ เบรกมือ ( parking brake )
หรืออาจเรียกว่า เบรกฉุกเฉิน ( emergency brake ) เป็นเบรกที่ใช้แรงเบรกจากลวดเคเบิ้ล ซึ่งต่อจากคันโยกไปยังเบรกของล้อหลัง ระบบของเบรกมือแยกอิรสะจากระบบเบรกไฮดรอลิกที่ใช้เป็นระบบหลักในการเบรก ( 5 )
1️⃣2️⃣ เบาะหน้า ( bucket seat )
เบาะหน้าของรถยนต์จะต้องกว้างเพียงพอ และกระชับพอดีกับตัวคนขับหรือผู้โดยสาร โดยปกติจะแยกออกจากกันโดยมีคอนโซล คันเกียร์ หรือเบรกมือคั่นกลาง ( 7 )
1️⃣3️⃣ เพลาลูกเบี้ยว ( camshaft )
เป็นชิ้นส่วนในเครื่องยนต์ ดูรูปที่ 1.8 มีหน้าที่กำหนดลำดับการทำงานของวาล์ว ซึ่งได้แก่จังหวะการปิดและเปิดของวาล์ว
1️⃣4️⃣ คาร์บูเรเตอร์ ( carburetor )
เป็นชิ้นส่วนที่ติดกับเครื่องยนต์ ดูรูปที่ 1.9 โดยปกติจะติดอยู่เหนือท่อร่วมไอดี มีหน้าที่ผสมน้ำมันเชื้อเพลิง กับอากาศให้ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง เพื่อให้การสันดาปเป็นไปอย่างประสิทธิภาพตามที่เครื่องยนต์ต้องการภายใต้สภาวะต่าง ๆ ของการขับขี่ และอัตราเร็ว ( 1 )
รูปที่ 1.9 คาร์บูเรเตอร์ของเครื่องยนต์ 8 สูบ
เป็นอย่างไรบ้าง เห็นไหมว่า ไม่มีอะไรยาก หรือซับซ้อนอย่างที่เราคิดเราสามารถซ่อมบำรุง รักษาได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเข้าอู่ให้เสียเวลา บทความนี้ยกตัวอย่างเพิ่มเติมต่อจากเดิม EP.1 มา 7 ชิ้นส่วน สำหรับใครที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม อย่าลืมติดตาม EP.3 ต่อนะคะ
📌 ได้ที่ลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ
แฟนเพจ : STM Racing Udon
สั่งซื้อสินค้า SHOPEE : STM Racing Shop
สั่งซื้อสินค้า LAZADA : STM Racing Shop
สั่งซื้อทางเว็บไซต์ : STMRACINGUDONTHANI.COM