ในปัจจุบันเราจะเห็นรถยนต์ไม่ว่าจะสายซิ่งหรือรถบ้าน มักจะชอบใส่ เกจวัด Defi (ดิฟฟี่) มีไว้ทำอะไรวันนี้ STM Racing Udon จะพาทุกคนไปหาคำตอบกันครับคำว่า Defi ดิฟฟี่ ที่จริงคือชื่อยี่ห้อของเกจวัดค่าต่างๆ ในรถยนต์ บ้านเรานิยมเรียกทับศัพท์อุปกรณ์ชนิดนี้กันว่า Defi
เกจวัด Defi ต่างๆวัดค่าอะไรบ้าง
มาตรวัดบูสต์ (BOOTS METER)
มาตรวัดตัวนี้จะเห็นในรถยนต์แทบทุกคันที่มีการติดตั้งเทอร์โบเข้าไป รวมถึงรถยนต์ที่มีเทอร์โบมาจากโรงงานก็อาจจะมีตัวนี้ มาให้ เนื่องจากมันเป็นตัวบ่งบอกสำคัญให้ผู้ขับขี่ทราบว่า มีแรงดันอากาศ หรือแรงบูสต์เข้ามายังเครื่องยนต์มากน้อยเพียงไร มาตรวัดตัวนี้โดยปกติบนหน้าปัด จะมีค่าตัวเลขด้านล่างขึ้นมาที่ 0 ซึ่งเป็นค่าของ แวคคั่ม หรือ แรงดันลบ และจาก 0 ขึ้นไป จะเป็นของเทอร์โบ หรือ แรงดันบวก
และในส่วนของเทอร์โบนี่เองที่จะเป็นส่วนบ่งบอกว่า เทอร์โบ กำลังทำงานอยู่สำหรับการดูค่าอัตราบูสต์เทอร์โบนั้น ถ้าหากว่าเข็มบนมาตรวัดเดินช้ามาก เป็นตัวแสดงให้เห็นอย่างหนึ่งว่า เทอร์โบมีขนาดใหญ่เกินไป ส่งผลให้ไอเสียที่ไปปั่นใบเทอร์โบไม่พอ การแก้ไขก็น่าจะเป็นการเปลี่ยนเป็นแคมฯ องศาสูง รือไม่ก็เปลี่ยนจังหวะของวาล์วเป็นต้น
นอกจากนี้หากบนมาตรวัดชี้ว่ามีแรงบูสต์สูงเกินไปจากท ี่มีการตั้งค่าเอาไว้ ก็อาจจะสรุปได้ว่าเกิดปัญหาขึ้นที่สปริงวาล์วของเวสต ์เกต ที่เป็นตัวควบคุมแรงดันบูสต์ของเทอร์โบเป็นต้น สำหรับมาตรวัดอัตราการบูสต์นี้ อาจจะมีค่าการวัดไม่เหมือนกัน บางครั้งอาจบ่งบอกค่าการวัดเป็น Bar (บาร์) หรือว่า psi (ปอนด์) อีกทั้งค่าสูงสุดของมาตรวัดบูสต์ ก็ไม่เท่ากัน จึงควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับความต้องการ
มาตรวัดอุณหภูมิเครื่องยนต์ (WATER TEMP METER)
สำหรับมาตรวัดความร้อน ตามปกติในรถธรรมดาทั่วไป ก็จะมีติดตั้งมาให้เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว แต่ว่ารถยนต์ทั่วไปนั้นอาจไม่ได้อ่อนไหวในเรื่องของค วามร้อนมากนัก ค่าแสดงให้เห็นจึงไม่ละเอียดมากนัก ทั้งนี้เป็นเพราะทางโรงงานตั้งใจทำมาอย่างนั้น เพื่อคนขับจะได้ไม่ต้องเป็นห่วงมาก แต่ว่าเมื่อไหร่ที่เกจความร้อนขยับสูงขึ้น นั่นหมายความว่าความร้อนขึ้นค่อนข้างมาก ทว่าถ้าเป็นในรถธรรมดา อาจจะยังไม่ก่อปัญหามากนัก ขณะที่รถยนต์ซึ่งใช้เครื่องยนต์เทอร์โบ
และมีการโมดิฟาย หรือปรับบูสต์ เรื่องปัญหาความร้อนมีความสำคัญมาก เพราะอาจหมายถึงความเสียหายที่เกิดกับเครื่องยนต์ได้ เลยทีเดียว โดยปกติ เซ็นเซอร์ ที่ใช้วัดความร้อนของเครื่องยนต์จะติดตั้งอยู่ตรงท่อ น้ำที่ออกจากเครื่อง ซึ่งอุณหภูมิโดยปกติที่เครื่องยนต์ทำงานควรจะอยู่ที่ ราว 90-100 องศาเซลเซียส และควรควบคุมไม่ให้สูงขึ้นเกินไปกว่า 120 องศาเซลเซียส หากว่าอุณหภูมิยังสูงขึ้นก็พอมีวิธีแก้ไขคือ เพิ่มขนาดของหม้อน้ำให้ใหญ่ขึ้น เปิดกันชนหน้าให้ลมผ่านเข้าหม้อน้ำได้ง่ายขึ้น หรือไม่ก็เจาะสคูปดักลมบนฝากระโปรงหน้า ให้ลมเข้ามาเป่าห้องเครื่อง วิธีการเหล่านี้พอจะสามารถทำให้เครื่องยนต์เย็นได้บ้างเหมือนกัน
มาตรวัดอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง (OIL TEMP METER)
อุณหภูมิน้ำมันเครื่อง มีความสำคัญมากพอสมควร เพราะถือว่ามีผลกระทบกับเครื่องยนต์โดยตรง หากว่าอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องสูงเกินไป เครื่องยนต์ก็ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้อุณหภูมิของน้ำมันเครื่องจะขึ้นอยู่กับคุณภาพ ของน้ำมันเครื่องที่ใช้ ซึ่งในตลาดน้ำมันเครื่องแยกเป็นหลายประเภท มีทั้งแบบทนความร้อนสูงที่อุณหภูมิสูงถึง 120 องศาเซลเซียส ส่วนบางประเภทอุณหภูมิแค่ 110 องศาเซลเซียส ก็ทนไม่ไหวกลายสภาพเป็นน้ำก็มี
โดยปกติของอุณหภูมิน้ำมันเครื่องจะสูง-ต่ำ ไปในแนวทางเดียวกับอุณหภูมิของเครื่องยนต์หรืออุณหภู มิหม้อน้ำ ซึ่งถ้าความร้อนของน้ำขึ้น อุณหภูมิของน้ำมันเครื่องก็จะขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ในสภาพการใช้งานเครื่องยนต์ควรรักษาอุณหภูมิข องน้ำมันเครื่องให้อยู่ในช่วง 80-110 องศาเซลเซียส ถ้าหากอุณหภูมิสูงขึ้นไปเกิน 120 องศาเซลเซียส ควรทำให้เย็นลงก่อนจึงใช้งานเครื่องยนต์ต่อไป สำหรับทางออกในการช่วยรักษาอุณหภูมิของน้ำมันเครื่อง รถยนต์ที่ผ่านการโมดิฟายมักมีการใส่ OIL COOLER เข้าไปช่วยก็ทำให้อุณหภูมิน้ำมันเครื่องไม่สูงเกินไป
มาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่อง (OIL PRESSURE METER)
มาตรวัดตัวนี้จะมีส่วนสำคัญในการแสดงให้เห็นถึงประสิ ทธิภาพของ น้ำมันเครื่อง โดยค่าที่แสดงออกมาให้เห็นจะเป็นเวลาที่เครื่องยนต์ทำงานในรอบสูงๆหรือขณะที่เครื่องยนต์ มีอุณหภูมิในการทำงาน เพราะเมื่อน้ำมันเครื่องเจอเข้ากับความร้อนสูง ๆ จะถูกหลอมให้เหลวลง และถ้าน้ำมันเครื่องเหลวมากเท่าไหร่ ประสิทธิภาพความหล่อลื่นก็จะลดลงการสึกหรอ จนถึงการ ระบายความร้อนก็จะลดประสิทธิภาพลงตามไปด้วย ดังนั้นการตรวจสอบตรงจุดนี้จึงมีความสำคัญ ซึ่งมาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่องจะเป็นตัวบ่งบอกข้อมูลนี้ได้
โดยในการแสดงข้อมูลให้เห็นนั้น หากว่ามีแรงดูดน้อย ที่เรียกว่า “แรงดันต่ำ” จะถือว่าการหล่อลื่นไม่ดี เพราะแสดงถึงว่าน้ำมันเครื่องเหลวมาก ใช้แรงดูดน้อยก็ไหลเข้ามาแล้ว ในทางกลับกัน ถ้าน้ำมันเครื่องมีความหนืดมาก แรงดูดก็ต้องใช้แรงมาก เรียกว่า “แรงดันสูง” จะสังเกตได้ว่าเวลาที่น้ำมันเครื่องยังคงเย็น มาตรวัดจะแสดงว่ามีแรงดันสูง แต่เมื่อความร้อนเพิ่มขึ้น น้ำมันเครื่องคลายความหนืดลง ความดันก็จะเริ่มต่ำลงมา สำหรับรถยนต์โดยทั่วไปในขณะวิ่ง แรงดันน้ำมันเครื่องควรอยู่ที่ประมาณ 3 – 4 kg/cm2 หรือหากสูงมากก็ไม่ควรจะเกิน 6 kg/cm2
มาตรวัดอุณหภูมิท่อไอเสีย (EXT. TEMP METER)
อุณหภูมิของท่อไอเสีย หลายคนอาจจะมองว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับประสิทธิภาพ การทำงานของเครื่องยนต์ ทว่าในความเป็นจริงมันมีส่วนที่สัมพันธ์กับแรงดันน้ำ มัน หรือการไหลของอากาศสำหรับรถที่ผ่านการโมดิฟาย นอกจากน้ำมันเครื่องแล้ว ยังมีอีกเรื่องที่สำคัญ ก็คือ ปริมาณการจ่ายน้ำมันเบนซิน ซึ่งปริมาณน้ำมันเบนซินจะมากจะน้อย ก็สามารถวัดได้จากมาตรวัดอุณหภูมิท่อไอเสียนี่เอง ซึ่งหากมีการปรับน้ำมันให้อ่อนลง จะทำให้อุณหภูมิของท่อไอเสียเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเป็นในทางตรงกันข้ามน้ำมันแก่ อุณหภูมิของท่อไอเสีย ก็จะต่ำลง ดังนั้นมาตรวัดอุณหภูมิไอเสีย จึงสามารถบอกข้อมูลของรถในขณะวิ่งได้ อย่างไรก็ตามโดยทั่วไป มาตรวัดอากาศไหลเข้า หรือว่ามาตรวัดแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง ก็ใช้บอกข้อมูลในทางเดียวกัน
มาตรวัดแรงดันเชื้อเพลิง (FUEL PRESSURE METER)
สำหรับมาตรวัดตัวนี้ใช้เป็นตัวเช็คแรงดันน้ำมันเชื้อ เพลิงว่า ในขณะที่เหยียบคันเร่งแล้วน้ำมันขึ้นมาตามปริมาณที่เ ราออกแรงกดลงไปบนคันเร่งหรือไม่ สำหรับคนที่ใช้รถแบบปรกติหรือใช้บนถนนทั่วไป มาตรวัดตัวนี้คงจะไม่จำเป็น อย่างไรก็ดีหากว่า ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงหรือหัวฉีดเกิดมีปัญหาขึ้นมา มาตรวัดที่บอกค่าของแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง ก็สามารถเป็นตัวบอกความผิดปกติได้ วิธีดูมาตรวัดตัวนี้ จะใช้ดูค่าในขณะที่รถยนต์ติดเครื่องเดินเบาเป็นหลัก สำหรับรถยนต์ที่มีเทอร์โบติดตั้งอยู่ด้วยค่าของแรงดั นนี้จะขึ้นไปตามอัตราการบูสต์ เช่น ค่าที่วัดได้ในขณะเดินเบามีค่าเป็น 3 บาร์ แต่เมื่อเทอร์โบบูสต์ไป 1 บาร์ค่าบนของมาตรวัดจะชี้ไปที่ 4 บาร์ ซึ่งหากว่าแรงดันนี้ตกลง นั่นหมายถึงว่าขนาดของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงหรือหัวฉี ดที่ใช้ไม่เพียงพอ เสียแล้ว ดังนั้นมาตรวัดตัวนี้จึงมีความจำเป็นไม่น้อยสำหรับรถ ยนต์เทอร์โบ ซึ่งผู้ขับขี่ความสังเกตค่าแรงดันในขณะที่เดินเบาเป็ นหลัก และสังเกตว่าแรงดันน้ำมัน นั้นขึ้นไปตามอัตราการบูสต์หรือไม่
มาตรวัดส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง (A/F METER)
มาตรวัดตัวนี้เป็นการเช็คความสมดุลระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับ A/F คืออัตราส่วนระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งโดยทั่วไปอัตราส่วนตามหลักการนี้จะต้องมีค่าเท่า กับ 14 ในขณะที่เครื่องเดินเบา เลข 14 ก็จะหมายถึงอากาศ 14 ส่วน/น้ำมัน 1 ส่วน ซึ่งจะผสมอยู่ในห้องเผาไหม้สำหรับจุดระเบิด และค่านี้จะต่ำลงไปในขณะที่มีการเร่งเนื่องจากปริมาณ น้ำมันเพิ่มขึ้น และค่า A/F นี้จะสูงขึ้นในขณะที่ทำการถอนคันเร่ง โดยค่า A/F นี้จะถูกแบ่งออกเป็น “บาง” กับ “หนา” ซึ่งถ้าต้องการทำให้รถแรงขึ้น ก็ต้องปรับให้ค่า A/F ให้มีค่าที่บางลง คือการปรับให้น้ำมันน้อยลง-อากาศมากขึ้น อย่างไรก็ตามการปรับในลักษณะดังกล่าว ก็มีผลทำให้อุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องมีการปรับอย่างระมัดระวัง ทั้งนี้ค่า A/F ไม่ควรสูงเกินกว่า 12 เพราะนั่นหมายความว่าน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยเกินไป ซึ่งในรถที่มีการโมดิฟาย ควรจะให้มีค่า A/F ขณะเร่งอยู่ในช่วง 10.5- 11.5 ก็พอ
แวคคั่ม มิเตอร์ (VACCUM METER)
มาตรวัด VACCUM ตัวนี้ จริง ๆ แล้วมันก็อยู่ในมาตรวัดตัวเดียวกับมาตรวัดอัตราบูสต์ เทอร์โบ มาตรวัดตัวนี้จะตอบสนองกับ อัตราการเหยียบคันเร่ง ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเช็คความสิ้นเปลืองน้ำมันได้เหมือนกัน สำหรับการดูค่าของมาตรวัดตัวนี้ต้องดูเวลา เครื่องเดินเบา ซึ่งจะดูได้จากค่าสุญญากาศ ถ้าค่าสุญญากาศนี้มีมาก ก็จะถือได้ว่าเครื่องยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์ ไม่รั่วซึม แต่ถ้าค่านี้ลดลงไปมาก นั่นก็เป็นไปในทางตรงกันข้าม มาตรวัดตัวนี้จึงเป็นมาตรวัดที่อาจมีไว้เช็คสภาพของเ ครื่องยนต์ได้ ทั้งนี้ในขณะเครื่องยนต์เดินเบาถ้าเข็มบนมาตรวัดนี้บ อกค่าไม่ถึง 300 cmHg นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าเครื่องยนต์มีสภาพย่ำแย่ โดยเครื่องยนต์ใหม่ ๆ ที่มีความสมบูรณ์ค่าตัวนี้จะอยู่ที่ประมาณ 450 cmHg
📌 ได้ที่ลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ
แฟนเพจ : STM Racing Udon
สั่งซื้อสินค้า SHOPEE : STM Racing Shop
สั่งซื้อสินค้า LAZADA : STM Racing Shop
สั่งซื้อทางเว็บไซต์ : STMRACINGUDONTHANI.COM