ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ โดยทั่วไป คนเราส่วนใหญ่จะมีรถยนต์เป็นของตนเองซะส่วนมาก คนซื้อส่วนมาก มีเหตุผลเพียงเพราะว่าเป็นพาหนะอย่างหนึ่ง ที่สามารถพาเราไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก สบาย และหลายคนรู้จักเพียงแค่ คำว่า รถยนต์ หารู้หรือไม่ว่า มันทำงานอย่างไร ชิ้นส่วนต่างๆคืออะไร ทำงานแบบไหน ต่างกันอย่างไร ประกอบขึ้นมาเป็นรถยนต์นั้นมีไว้ทำไม เวลารถเกิดเสียขึ้นมา คนส่วนมากจึงไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร มาจากจุดไหน โดนอะไร
วันนี้ STM ได้นำข้อมูล ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับรถยนต์ ดีๆ ให้กับคนที่กำลังจะศึกษาเรื่องรถยนต์ หาข้อมูลไว้ต่อยอดของท่าน เผื่อว่าเวลามันเสียคุณจะได้รู้ว่าเสียจากเหตุใด เกิดได้อย่างไร ควรทำอย่างใด ในอันดับแรกในการบรรเทา และบางครั้งคุณไม่จำเป็นต้องเข้าอู่ คุณอาจจะแก้ไขเองได้ง่ายๆ ดังนั้น เรามาทำความรู้จักระบบพื้นฐานของรถยนต์กันดีกว่าค่ะ
ระบบพื้นฐานของรถยนต์ 🚕
ระบบพื้นฐานของรถยนต์ แบ่งเป็นระบบใหญ่ ๆ ดังนี้
- เครื่องยนต์ ( engine )
- ระบบส่งกำลัง ( transmission )
- ระบบขับเคลื่อนและเพลา ( driveline and axles )
- ระบบบังคับเลี้ยว ระบบกันสะเทือน ล้อ และยาง ( steering , suspen – sion , wheels , and tires )
- ระบบเบรก ( braking ststem )
- ระบบไฟฟ้า ( chassis and body electrical systems )
- ตัวถัง โครงฐาน และกันชน ( body , frame , and bumpers )
- ระบบทำความร้อน ระบายอากาศ และปรับอากาศ ( heating – ventilating – air conditioning )
ระบบต่าง ๆ เหล่านี้ ยังแยกเป็นระบบย่อยอีก ได้อีกมากมาย จนถึงรายละเอียดชิ้นส่วนของแต่ละชิ้น ซึ่งมีน้อยคนมากที่จะรู้และเข้าใจได้ทันทีที่กล่าวถึง นอกเสียจากได้ลงมือทำซ่อมและบำรุงรักษาด้วยตนเองมาก่อน ความสัมพันธ์ และการทำงานของระบบพื้นฐาน ดังกล่าว ตลอดจนชิ้นส่วนต่าง ๆ ในระบบ ที่คุณสามารถศึกษาในที่นี้
กล่าวถึงชิ้นส่วน และศัพท์เทคนิคต่าง ๆ ที่ท่านพบได้บ่อย โดยเรื่องลำดับตามตัวอักษร ภาษาในวงเล็บ ซึ่งคุณทำความเข้าใจเสียก่อน เพราะเห็นชิ้นส่วน คุณเองก็สามารถจะเข้าใจได้ด้วยตนเอง สำหรับตัวเลขภาพในวงเล็บท้ายคำอธิบายของแต่ละหัวข้อนั้นแสดง ถึงตัวเลขประจำพื้นฐาน ดังกล่าวข้างต้น เช่น ท่านพบว่ามีตัวเลข ( 2 ) ท้ายคำอธิบายแสดงว่าหัวข้อที่ได้อธิบายไปแล้วนั้นอยู่ในระบบส่งกำลัง
1️⃣ หม้อกรองอากาศ ( air cleaner )
เกี่ยวกับรถยนต์ โดยทั่วไปมีลักษณะ เป็นทรงกระบอกแบนคล้ายขนมเค้ก มักมีสีดำภายในกลวง อยู่ด้านบน หรือไม่ก็อยู่ด้านนอกของเครื่องยนต์ ตามรูป 1.1 ตัวหม้อกรองมีท่อเหล็กยื่นออกมาเพื่อรับ การไหลเข้าของอากาศจากภาพนอก และอาจมีท่อพลาสติก หรือท่อยางซึ่งบิดงอได้ต่อจากท่อเหล็ก ไปยังหน้าท่อกระจังหน้าหม้อรถยนต์ โดยมีค่อนข้างกว้าง เพื่อเพิ่มพื้นที่รับการไหลเข้าของอากาศให้มากขึ้น ถ้าเปิดฝาครอบด้านเลยของกรองหม้ออากาศ ออก จะเห็นไส้กรองอากาศ ซึ่งมีหน้าที่กรองฝุ่นละออง และสิ่งสกปรกต่างๆ ที่ปะปนอยู่ในอากาศก่อนเข้าสู่คาร์บูนเตอร์ ในกรณีที่จุดระเบิดย้อนกลับ ( backfire ) ผ่านคาร์บูนเตอร์ หม้อกรองอากาศจะเป็นตัวป้องกันไม่ให้เกิดไฟไหม้ภายใต้ฝากระโปรงรถยนต์ด้วย ในประเทศที่อากาศหนาว หม้อกรองอากาศ บริเวณท่อที่ยื่นออกมาจะมีวาล์ว ซึ่งควบคุมการเปิดปิด ด้วยอุณหภูมิ โดยวาล์วนี้จะปิดไม่ให้อากาศเย็นจากภายนอกเข้ามาในขณะสตาร์ตเครื่องยนต์ และจะเปิดต่อเมื่อเครื่องยนต์ร้อนถึงอุณหภูมิหนึ่ง แต่อากาศที่เข้าไปนั้นจะถูกอุ่นที่ท่อไอดี หรือไอเสียได้
รูปที่ 1.1 หม้อกรองอากาศ
2️⃣ เครื่องปรับอากาศ ( air conditioner )
เครื่องปรับอากาศภายในรถยนต์ มีหน้าที่ลดอุณหภูมิ และความชื้นของอากาศภายในห้องโดยสาร ทำให้เกิดความเย็นขึ้น และความเย็นของอากาศ ดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจาก กายถ่ายเทความร้อน ซึ่งหมุนเวียนอยู่ในระบบปรับอากาศ อันประกอบด้วยคอมเพรสเซอร์ ( compressor ) ตามรูปที่ 1.2
รูปที่ 1.2 คอมเพรสเซอร์แบบต่าง
จะคลายความร้อน และเปลี่ยนแปลงของเหลว จากนั้นจะไหลไปยัง อีวาปอเรเตอร์ ( evaporator ) หรือที่เรียกว่า คอยล์เย็น ก๊าชฟรีออนซึ่งอยู่ในสถานะของเหลว จะดูดความร้อนจากอากาศในห้องโดยสารเย็นลง ในชุดอีวาปอเรเตอร์ จะมีพัดลมช่วยเป่าให้ อากาศเย็นลง โดยทั่วไปห้องโดยสาร นี่เป็นหลักการง่าย ๆ ของเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ ( 8 )
3️⃣ ปั๊มอากาศ ( air pump )
เป็นชิ้นส่วนในระบบควบคุม การขับถ่ายไอเสีย ซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของเครื่องรถยนต์ มีในรถยนต์บางคัน รูปที่ 1.3 แสดงปั๊มอากาศ ( 1 )
รูปที่ 1.3 ปั๊มอากาศ
4️⃣ ไดชาร์จ ( alternator )
มีหน้าเป็นผลิตกระแสไฟฟ้ามาใช้ในรถยนต์ รวมทั้งเป็นตัวชาร์จหรือประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ รูปที่ 1.4 แสดงให้เห็นไดชาร์จ ( 1 )
รูปที่ 1.4 ไดชาร์จ
5️⃣ แอนตี้ฟรีซ ( antifreeze )
เป็นสารละลายระหว่าง เอตทีลีน กลีซอล ( ethylene glycol ) กับน้ำและสารเคมีบางชนิด เพื่อใช้เป็นน้ำหล่อเย็นในเครื่องยนต์ และหม้อน้ำ ซึ่งประสิทธิภาพในการหล่อเย็นได้ดีกว่า ใช้น้ำธรรมดา เนื่องจากแอนตี้ฟรีซจะช่วยให้น้ำไม่เดือด ในขณะเครื่องร้อน และไม่แข็งตัวในขณะหนาวจัด ทั้งยังเป็นตัวช่วยยับยั้ง การเกิดสนิมอีกด้วยค่ะ ในรถยนต์ซึ่งติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เครื่องยนต์ต้องงานหนักขึ้น ดังนั้นการใช้แอนตี้ฟรีซ จึงมีความจำเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามการใช้แอนตี้ฟรีซควรเป็นไปตาม ข้อกำหนดซึ่งระบุไว้ในหนังสือคู่มือของรถยนต์ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ ( 1 )
6️⃣ บาลลาส รีซีลเตอร์ ( ballast resistor )
โดยปกติรีซีสเตอร์ จะพบได้จุดระเบิดของรถยนต์ ซึ่งไม่ใช้ระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยต่ออนุกรมเข้า กับคอยล์ทางด้านขดลวดปฐมภูมิ หน้าที่ของรีซีสเตอร์ที่สำคัญ คือช่วยยืดอายุของทองขาวและคอยล์ ( 1 )
7️⃣ แบตเตอรี่ ( battery )
แบตเตอรี่เป็นตัวเก็บพลังงานไฟฟ้า เพื่อใช้สำหรับสตาร์ตเครื่องยนต์ และจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังจุดต่างๆ ที่ต้องการ โดยปกติแล้ว แบตเตอรี่ต้องได้รับการดูแลบำรุงรักษา อย่างสม่ำเสมอด้วย การเช็คระดับและความถ่วงจำเพาะของน้ำกรด แต่ยังมีแบตเตอรี่บางชนิดซึ่งไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษา เมื่อไฟจากแบตเตอรี่ถูกใช้ไป การประจุไฟกลับเข้าแบตเตอรี่เป็นหน้าที่ของไดชาร์จ รูปที่ 1.5 แสดงเเบตเตอรี่ทั้งแบบต้องได้รับการดูแลรักษา และแบบไม่จำเป็นต้องดูแลรักษา ( 1 )
รูปที่ 1.5 แบตเตอรี่แบบเปิดฝาครอบเซลได้ซึ่งต้องดูแลรักษา ( ซ้าย ) และแบบฝาครอบเซลปิดผนึกซึ่งไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษา ( ขวา )
เห็นไหมว่า อุปกรณ์บางชิ้น คุณเองก็สามารถซ่อมบำรุง รักษาได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเข้าอู่ให้เสียเวลา บทความนี้ยกตัวอย่างเบื้องต้นความรู้พื้นฐานมา 7 ชิ้นส่วน สำหรับใครที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม อย่าลืมติดตาม EP.2 ต่อนะคะ
📌 ได้ที่ลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ
แฟนเพจ : STM Racing Udon
สั่งซื้อสินค้า SHOPEE : STM Racing Shop
สั่งซื้อสินค้า LAZADA : STM Racing Shop
สั่งซื้อทางเว็บไซต์ : STMRACINGUDONTHANI.COM